- องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต
         - องค์ประกอบที่มีชีวิต
     ความสัมพันธ์ในระนิเวศ
         - ภาวะเป็นกลาง
         - ภาวะการแข่งขัน
         - ภาวะอะเมนลิซึม
         - ภาวะล่าเหยื่อ
         - ภาวะเกื้อกูล
         - ภาวการได้ประโยชน์ร่วมกัน
         - ภาวะพึ่งพากัน
         - ภาวะปรสิต
         - ภาวะมีการย่อยสลาย
         - ภาวะมีการหลั่งสารห้ามการเจริญ
     วัฏจักรของธาตุ
          - วัฏจักรของคาร์บอน
          - วัฏจักรของออกซิเจน
          - วัฏจักรของไนไตรเจน
          - วัฏจักรของกำมะถัน
          - วัฏจักรของฟอสฟอรัส
          - วัฏจักรของน้ำ
          - วัฏจักรของแคลเซียม
          - การถ่ายทอดสารพิษในระบบนิเวศ
     ระบบนิเวศภาคพื้นทวีป
          - ระบบนิเวศแบบทะเลทราย
          - ระบบนิเวศแบบทุ่งหญ้า
          - ระบบนิเวศแบบป่าไม้
          - ระบบนิเวศแบบทุนดรา
     ระบบนิเวศภาคพื้นน้ำ
          - ระบบนิเวศแบบน้ำจืด
          - ระบบนิเวศแบบน้ำเค็ม
     การถ่ายทอดพลังงาน
          - กระบวนการถ่ายทอดพลังงาน
          - ประสิทธิภาพการส่งต่อพลังงาน


การหมุนเวียนของไนโตรเจน(Nitrogen Cycle)

     ธาตุไนโตรเจนเป็นธาตุที่จำเป็นในการสร้างโปรโตปลาสซึม ของสิ่งมีชีวิต โดยจะเป็นส่วนประกอบหลักของโปรตีน ในบรรยากาศมีก๊าซไนโตรเจน ประมาณร้อยละ 78 แต่สิ่งมีชีวิตไม่สามารถนำมาใช้ได้โดยตรง แต่จะใช้ได้เมื่ออยู่ในสภาพของสารประกอบ แอมโมเนีย ไนไตรท์และไนเตรท ไนโตรเจนในบรรยากาศ จึงต้องเปลี่ยนรูปให้อยู่ในสภาพที่สิ่งมีชีวิต ส่วนใหญ่จะใช้ได้


วัฏจักรของไนโตรเจน

     วัฏจักรนี้จึงประกอบด้วยขบวนการตรึงไนโตรเจน (Nitrogen Fixation) ขบวนการสร้างแอมโมเนีย (Ammonification) ขบวนการสร้างไนเตรด (Nitrification) และขบวนการสร้างไนโตรเจน (Denitrification) ขบวนการเหล่านี้จะต้องอาศัยแบคทีเรีย จุลินทรีย์ อื่น ๆ จำนวนมาก จึงทำให้เกิดสมดุลของวัฏจักรไนโตรเจน นอกจากจะถูกตรึง โดยสิ่งมีชีวิตแล้ว ไนโตรเจนในบรรยากาศ ยังถูกตรึงจากธรรมชาติอีกด้วย เป็นต้นว่าเมื่อเกิดฟ้าแลบขึ้นมา ไนโตรเจนในท้องฟ้าจะเปลี่ยนแปลงทางเคมี ฟิสิกส์ ก่อให้เกิดสารประกอบไนเตรดขึ้นมา จากนั้นจะถูกน้ำฝนชะพาลงสู่พื้นดินต่อไป

      ธาตุไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบหลักของอากาศที่ห่อหุ้มโลก สารประกอบไนโตรเจนจะมีอยู่ในดิน ในน้ำ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องการธาตุไนโตรเจนเพื่อสร้างโปรตีนสำหรับการเจริญเติบโต พืชไม่สามารถนำไนโตรเจนที่มีอยู่เป็นปริมาณมากในอากาศมาใช้ได้ แต่พืชใช้ไนโตรเจนในรูปของสารประกอบ ได้แก่ เกลือแอมโมเนีย เกลือไนไตรด์ เหลือไนเตรต เพื่อนำไปสร้างสารประกอบต่างๆ ในเซลล์ ส่วนสัตว์ได้รับไนโตรเจนจากการกินอาหารที่ต่อเนื่องมาเป็นลำดับ ซึ่งจะมีการถ่ายทอดจากพืชมาตามห่วงโซ่อาหารและสายใยอาหาร การขับถ่ายของสัตว์ ซึ่งสารขับถ่ายอยู่ในรูปสารประกอบไนโตรเจน คือ แอมโมเนีย ทำให้มีไนโตรเจนกลับคืนสู่บรรยากาศเช่นกัน