- องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต
         - องค์ประกอบที่มีชีวิต
     ความสัมพันธ์ในระนิเวศ
         - ภาวะเป็นกลาง
         - ภาวะการแข่งขัน
         - ภาวะอะเมนลิซึม
         - ภาวะล่าเหยื่อ
         - ภาวะเกื้อกูล
         - ภาวการได้ประโยชน์ร่วมกัน
         - ภาวะพึ่งพากัน
         - ภาวะปรสิต
         - ภาวะมีการย่อยสลาย
         - ภาวะมีการหลั่งสารห้ามการเจริญ
     วัฏจักรของธาตุ
          - วัฏจักรของคาร์บอน
          - วัฏจักรของออกซิเจน
          - วัฏจักรของไนไตรเจน
          - วัฏจักรของกำมะถัน
          - วัฏจักรของฟอสฟอรัส
          - วัฏจักรของน้ำ
          - วัฏจักรของแคลเซียม
          - การถ่ายทอดสารพิษในระบบนิเวศ
     ระบบนิเวศภาคพื้นทวีป
          - ระบบนิเวศแบบทะเลทราย
          - ระบบนิเวศแบบทุ่งหญ้า
          - ระบบนิเวศแบบป่าไม้
          - ระบบนิเวศแบบทุนดรา
     ระบบนิเวศภาคพื้นน้ำ
          - ระบบนิเวศแบบน้ำจืด
          - ระบบนิเวศแบบน้ำเค็ม
     การถ่ายทอดพลังงาน
          - กระบวนการถ่ายทอดพลังงาน
          - ประสิทธิภาพการส่งต่อพลังงาน

 

ระบบนิเวศแบบทะเลทราย

          ทะเลทรายครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 18% ของพื้นที่โลก อยู่ในบริเวณเส้นรุ้ง ที่ 10 องศาเหนือและใต้ มีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่า 10 นิ้วต่อปี มีอัตราการระเหยของน้ำสูงกว่าปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา 5-7 เท่า อุณหภูมิในช่วงกลางวันและกลางคืนแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด บางส่วนของทะเลทรายจะถูกน้ำกัดเซาะเป็นแอ่งทำให้สามารถรองรับน้ำฝนไว้ให้สัตว์ทะเลทรายใช้ได้ ปัจจัยจำกัด ที่สำคัญของทะเลทรายคือ น้ำ ส่วนแร่ธาตุต่างๆ ในดิน ความเค็มและสารอินทรีย์บางชนิดอาจเป็นปัจจัยจำกัดได้บ้าง สภาพแวดล้อมไม่เหมาะกับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต จึงพบจำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิต จึงพบจำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิตค่อนข้างน้อย สิ่งมีชีวิตในทะเลทรายจะต้องปรับตัวทางโครงสร้าง ทางสรีระและพฤติกรรมเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างกันดาร

          พืชในทะเลทรายมีการปรับตัวสองลักษณะ คือ ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแห้งแล้งด้วยการเก็บน้ำไว้ในลำต้น หรือมีรากหยั่งลงลึกมากเพื่อหาน้ำใต้ดิน หรือลดรูปของใบให้มีขนาดเล็กลงและมีสารคล้ายขี้ผึ้งเคลือบผิวใบเพื่อลดการคายน้ำ การปรับตัวอีกลักษณะหนึ่งคือ การผลิตเมล็ดที่ทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี ต่อเมื่ออุณหภูมิและความชื้นเหมาะสมจึงจะงอก และเติบโตอย่างรวดเร็ว หลังจากสร้างเมล็ดแล้วก็จะตายไป ลักษณะพืชในทะเลทรายมักเป็นพืชต้นเตี้ยติดดิน หรือเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก
สัตว์ทะเลทรายมีสองประเภทคือ พวกที่อยู่ในสภาพไข่ ดักแด้ หรือรูปอื่นที่ทนต่อสภาวะแห้งเล้งได้ยาวนานนับเดือนนับปี จนกว่าจะมีน้ำเพียงพอจึงจะเจริญอย่างรวดเร็ว บางชนิดจะเริ่มออกหากินเมื่อฝนตกหลังจากที่จำศีล(Aestivation) เป็นระยะเวลายาวนานตลอดช่วงเวลาที่แล้งจัดอีกประเภทหนึ่งเป็นพวกที่มีกิจกรรมตลอดช่วงที่มีชีวิตอยู่ สัตว์พวกนี้มีความสามารถสูงในการปรับตัวทางสรีระ ทำให้มีชีวิตรอดอยู่ได้ในสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงระหว่างกลางวันกับกลางคืน พื้นที่ทะเลทรายอาจเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ในอนาคต ทะเลทรายมีแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์อย่างสม่ำเสมอในปริมาณมาก เทคโนโลยีสมัยใหม่อาจช่วยให้มนุษย์นำพลังงานดังกล่าวจากทะเลทรายมาใช้ได้ แต่ต้องพิจารณาให้รอบคอบในแง่ของการลงทุน และผลตอบแทน