2.1
ป่าสนหรือป่าสนเขา(coniferous forest หรือ Pine forest)
เป็นป่าที่พบทั่วไปตามภูเขาที่สูงกว่า 700-1,000 เมตร
อยู่ระหว่างเส้นรุ้ง 50-60 องศาเหนือ เช่น บริเวณ อลาสกา
แคนาดา สแกนดิเนเวีย ไซบีเรีย และบางส่วนของประเทศไทย
ส่วนบริเวณป่าสนในแถบซีกโลกเหนือ อาจมีชื่อเรียกได้อีอย่างหนึ่งว่า
ไทกา(Taiga) สภาพอากาศบริเวณที่มีความเย็นสูง(ช่วงฤดูร้อนสั้นแต่ช่วงฤดูหนาวยาว)
ฝนตกค่อนข้างมาก การสลายตัวของสารเป็นไปอย่างช้า ๆ ทำให้เกิดดินแบบพอดซอล(Podsol)
คือมีสภาพเป็นกรดและขาดธาตุอาหารเนื่องจากมีอัตราการชะล้างสูง
แม้กระนั้นผลผลิตในรอบปีของป่าสนก็ยังมีอัตราค่อนข้างสูงยกเว้นในช่วงอุณภูมิต่ำ

2.2 ป่าดิบชื้น หรือป่าดงดิบ (Tropical rain forest หรือ
Tropical evergreen forest) มีอยู่ตามภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ของประเทศ
ที่มีระดับสูงตั้งแต่ระดับเดียวกันกับน้ำทะเล จนถึงระดับ
๑๐๐ เมตร มีปริมาณน้ำฝนตกไม่น้อยกว่า ๒,๕๐๐ มิลลิเมตร
ต่อปี พรรณไม้ที่ขึ้นมีมากชนิด เช่น พวกไม้ยางต่าง ๆ พืชชั้นล่างจะเต็มไปด้วยพวกปาล์ม
หวาย ไผ่ต่าง ๆ และเถาวัลย์นานาชนิด

2.3 ป่าดิบภูเขา (Hill evergreen forest)
เป็นป่าดงดิบที่พบอยู่บนภูเขาสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000
เมตรขึ้นไป สภาพป่าแตกต่างจาก
ป่าดิบชื้นอย่างเห็นได้ชัด คือ ไม่มีพันธุ์ไม้วงศ์ยางแต่มีพันธุ์ไม้จำพวกพญาไม้
มะขามป้อมดง สนสามพันปี และไม้ก่อชนิดต่าง ๆ ไม้ชั้นรองได้แก่
ส้มแปะ หว้า ไม้ชั้นล่างเป็นพวกไม้พุ่มรวมทั้งข้าวดอกฤาษี
มอส สามร้อยยอด เป็นต้น

2.4 ป่าชายเลนหรือป่าโกงกาง (Mangrove forest หรือ Littoral
forest)
เป็นป่าน้ำทะเลท่วมถึงพบตามชายฝั่งที่เป็นแหล่งสะสมดินเลนทั่ว
ๆ ไป นับเป็นเอกลักษณ์น้อยชนิดและขึ้นเป็นกลุ่มก้อน เท่าที่สำรวจพบมี
๗๐ ชนิด พรรณไม้หลักมีโกงกางใบเล็กและโกงกางใบใหญ่เป็นพื้น
นอกนั้นเป็นพวกแสม ไม้ถั่ว ประสัก หรือพังกา โปรง ฝาก
ลำพู-ลำแพน เป็นต้น ผิวหน้าดินเป็นที่สะสมของมวลชีวภาพ
ถอบแถบน้ำ ปรงทะเล และจาก เป็นต้น

2.5
ป่าพรุและป่าบึงน้ำจืด (Swamp forest)
เป็นป่าตามที่ลุ่มและมีน้ำขังอยู่เสมอ พบกระจายทั่วไปและพบมากทางภาคใต้
อยู่ระดับเดียวกับน้ำทะเลเป็นส่วนมาก เป็นป่าอีกประเภทหนึ่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง
เท่าที่มีการสำรวจพบว่ามีพรรณไม้ไม่น้อยกว่า ๔๗๐ ชนิด
และในจำนวนนี้เป็นชนิดที่พบครั้งแรกของประเทศถึง ๕๐ ชนิด
ปริมาณน้ำฝนระหว่าง ๒,๓๐๐-๒,๖๐๐ มิลลิเมตร ต่อปี พรรณไม้หลักมีพวกมะฮัง
สะเตียว ยากา ตารา อ้ายบ่าว หว้าน้ำ หว้าหิน ช้างไห้ ตีนเป็ดแดง
จิกนม เป็นต้น พืชชั้นล่างเป็นพวกปาล์ม เช่น หลุมพี ค้อ
หวายน้ำ ขวน ปาล์มสาคู รัศมีเงิน กระจูด เตยต่าง ๆ เป็นต้น
2.6
ป่าชายหาด (Beach forest)
เป็นป่าที่อยู่ตามชายฝั่งทะเลที่มีดินเป็นกรวด ทราย และโขดหิน
พรรณไม้น้อยชนิด และผิดแผกไปจากป่าอื่นอย่างเด่นชัด ถ้าเป็นแหล่งดินทรายจะมีพวกสนและพรรณไม้เลื้อยอื่น
ๆ บางชนิด ถ้าดินเป็นกรวดหิน พรรณไม้ส่วนใหญ่จะเป็นพวกกระทิง
ไม้เมา หูกวาง และเกด เป็นต้น

|