- องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต
         - องค์ประกอบที่มีชีวิต
     ความสัมพันธ์ในระนิเวศ
         - ภาวะเป็นกลาง
         - ภาวะการแข่งขัน
         - ภาวะอะเมนลิซึม
         - ภาวะล่าเหยื่อ
         - ภาวะเกื้อกูล
         - ภาวการได้ประโยชน์ร่วมกัน
         - ภาวะพึ่งพากัน
         - ภาวะปรสิต
         - ภาวะมีการย่อยสลาย
         - ภาวะมีการหลั่งสารห้ามการเจริญ
     วัฏจักรของธาตุ
          - วัฏจักรของคาร์บอน
          - วัฏจักรของออกซิเจน
          - วัฏจักรของไนไตรเจน
          - วัฏจักรของกำมะถัน
          - วัฏจักรของฟอสฟอรัส
          - วัฏจักรของน้ำ
          - วัฏจักรของแคลเซียม
          - การถ่ายทอดสารพิษในระบบนิเวศ
     ระบบนิเวศภาคพื้นทวีป
          - ระบบนิเวศแบบทะเลทราย
          - ระบบนิเวศแบบทุ่งหญ้า
          - ระบบนิเวศแบบป่าไม้
          - ระบบนิเวศแบบทุนดรา
     ระบบนิเวศภาคพื้นน้ำ
          - ระบบนิเวศแบบน้ำจืด
          - ระบบนิเวศแบบน้ำเค็ม
     การถ่ายทอดพลังงาน
          - กระบวนการถ่ายทอดพลังงาน
          - ประสิทธิภาพการส่งต่อพลังงาน

 

ระบบนิเวศแบบทุนดรา

          ทุนดราหรือทุ่งหิมะแถบขั้วโลก มีอาณาเขตตั้นแต่เส้นรุ้งที่ 60 เหนือขึ้นไปจนถึงขั้วโลก ในเขตพื้นที่นี้อุณหภูมิต่ำมาก พื้นดินปกคลุมด้วยน้ำแข็งตลอดปี ยกเว้นช่วงฤดูร้อนซึ่งมีช่วงสั้นมาด ฝนตกค่อนข้างน้อย ในช่วงฤดูหนาวอันยาวนานเป็นช่วงที่ขาดชีวิตชีวา สัตว์จะจำศีล(Hibermation) หรือหลบอยู่ใต้หิมะ และใต้ก้อนน้ำแข็ง พืชหยุดชะงักการเจริญเติบโต ในฤดูร้อนพื้นดินและพื้นน้ำจะสลับกันเป็นลวดลายสวยงาม ชุมชนแบบทุนดราเป็นชุมชนแบบง่ายๆ ไม่ยั่งยืนและไม่สมดุล เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นจึงทำให้มีอัตราการระเหยต่ำ การสลายตัวของธาตุอาหารเกิดอย่างช้าๆ ทำให้ค่อนข้างขาดแคลนอาหาร แม้สภาพแวดล้อมจะไม่ใคร่เหมาะสม แต่สิ่งมีชีวิตก็สามารถปรับตัวให้อยู่รอดได้ พืชมีอายุการเจริญสั้นเพียงแค่ 60 วัน พืชชนิดเด่นได้แก่ ไลเคนส์ นอกจากนี้ยังมีมอส กก หญ้าเซดจ์(Sedge) และไม้พุ่มเตี้ย เช่น วิลโลแคระ
สัตว์ในเขตทุนดรามีไม่กี่ชนิด ได้แก่ นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และแมลง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดเด่น คือ กวางคาริบู กวางเรนเดียร์ กระต่ายป่าขั้วโลก หนูเลมมิง สุนัขป่าขั้วโลก นกชนิดเด่น คือ นกทามิแกน นกเค้าแมวหิมะ นอกจากนี้ยังมีนกจากแหล่งอื่นอพยพเข้ามาในฤดูร้อน แมลง ยุง