มทร.อีสาน นำเสนอชุดโครงการตัวชี้วัดแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ Korat Smart City เร่งสรุปผลส่งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เสนอ ครม.

วันที่ 5 สิงหาคม 2565 ดร.สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ อาจารย์ประจำหลักสูตรนวัตกรรมการพัฒนาเมืองและพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน สถาบันระบบรางฯ และ ดร.โสภณ ผลประพฤติ สถาบันนวัตกรรมการตลาดเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับมอบหมายจาก รองศาสตราจารย์ ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ร่วมนำเสนอชุดโครงการตัวชี้วัดภายในแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ร่วมกับทีมพัฒนาโคราช
เมืองอัจฉริยะ ประกอบไปด้วยทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา โดยมี นายสมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นำทีม ณ ห้องประชุม Catan อาคารเครื่องมือ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ให้กับคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและบริหารโครงการเมือง ผ่านระบบออนไลน์  โดยมี
นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส : DES) นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ ผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละด้าน ผู้แทนจากกระทรวงและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
รวมถึงผู้เชี่ยวชาญที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ พร้อมด้วย ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์
ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ในฐานะเลขานุการคณะอนุกรรมการฯ ร่วมประชุม

แผนพัฒนาโคราชเมืองอัจฉริยะ ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการดังกล่าวสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะของประเทศไทย ซึ่งเป็น 1 ใน 30 พื้นที่ ของประเทศไทย ที่ได้รับมาตรการส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ กลไกดังกล่าวจะนำไปสู่การดึงดูดการลงทุนและการส่งเสริมธุรกิจและอุตสาหกรรมด้านการพัฒนาเมืองที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีประยุกต์ใช้ให้สิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจและสังคมของเมืองโคราชดีขึ้น นอกจากนี้สำหรับภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องจะได้รับการส่งเสริมประเด็นต่าง ๆ อีกมากมาย อาทิ คูปองดิจิทัล การงดเว้นภาษี 8 ปี และการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษของเมืองโคราช เป็นต้น

สำหรับ มทร.อีสาน มีจำนวนโครงการ 5 ใน 20 โครงการ (ร้อยละ 25) ที่มีส่วนส่งเสริมและผลักดันการพัฒนาเมืองโคราชสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ ได้แก 1) โครงการขยะเหลือศูนย์ (Korat Zero Waste) 2) โครงการจัดทำข้อมูลเพื่อการเพิ่มพื้นที่ป่าในเมืองและการบริหารจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม (Urban Forestry) 3) โครงการจัดทำแผนที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว (Korat Smart Map for Tourism) 4) โครงการ Smart GPS Tracking and EV-Transit และ 5) โครงการพัฒนานักขายสินค้าและบริการชุมชนบนแพลตฟอร์มการตลาดออนไลน์

แผนพัฒนาโคราชเมืองอัจฉริยะ

ทั้งนี้การรับรองประกาศการเป็นเมืองอัจฉริยะของประเทศไทย มีระยะเวลา 2 ปี ที่ทางคณะทำงานและคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมือง โดยมี นายวิเชียร จันทรโณทัย  ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ดำเนินโครงการเพื่อรับการประเมินเพื่อได้รับมาตรการและกลไกการส่งเสริมในภาคธุรกิจเพื่อเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อไป

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์
ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวว่า การขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ “กลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะประเทศไทยไม่ใช่เพียงการมีแผนงานที่ชัดเจน แต่ต้องมีการบูรณาการการทำงานอย่างคล่องตัวจากผู้ที่มีส่วนกำหนดนโยบาย ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานท้องถิ่น ตลอดจนภาคเอกชน ผู้ประกอบการ ไปจนถึงภาคประชาชนที่มีส่วนร่วมในพื้นที่นั้น ๆ ทั้งหมดล้วนเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม และตอบโจทย์ความต้องการอย่างแท้จริง ซึ่งพื้นที่ที่ถูกเสนอต่อคณะอนุกรรมการฯ ในวันนี้ล้วนเป็นพื้นที่ที่มีความพร้อมและมีการกำหนดแผนงานชัดเจน เป็นไปตามแผนการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะประเทศไทย จึงเป็นเหตุผลที่คณะอนุกรรมการฯ มีมติเห็นชอบในวันนี้”

สำหรับผลการประชุมในวันนี้จะมีการนำเสนอต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ที่มี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เพื่อรับทราบ ก่อนเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา จากนั้นจะมีพิธีประกาศมอบตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะประเทศไทยแก่ 15 พื้นที่ ใน 14 จังหวัดดังกล่าวโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในโอกาสต่อไป

ดร.สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ , สำนักข่าวไทยแลนด์ พลัส/ ข่าว – ภาพ

Message us
English EN Thai TH

เรียน นักศึกษา บุคลากร และผู้ใช้งานทุกท่าน

ตามที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานได้ดำเนินการปรับปรุงระบบเว็บไซต์เวอร์ชันใหม่
ขอความร่วมมือผู้ใช้งานทุกท่านใช้งานเว็บไซต์ใหม่ได้ที่

www.rmuti.ac.th