ตามที่ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบต่อแผนปฏิบัติการเพื่อผลักดัน ส่งเสริม เร่งรัด และติดตามผลการดำเนินงาน IPv6 ในประเทศไทย (พ.ศ. 2556-2558) ซึ่งกำหนดให้แผนปฏิบัติการดังกล่าวเป็นวาระแห่งชาติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ โดยได้กำหนดแผนกิจกรรม IPv6 ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (https://www.facebook.com/IPv6Thailand)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เป็นสถาบันการศึกษาหนึ่งที่เชื่อมต่อการสื่อสารกับอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet) ซึ่งบริหารจัดการโดยสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา และมีหน้าที่ในการให้ส่งเสริมและบริการเชื่อมต่อ IPv6 กับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา
UniNet ได้ร่วมกับกลุ่มวิจัยพัฒนาเครือข่ายด้าน Future Internet ในการส่งเสริมการให้บริการเครือข่ายที่รองรับ IPv6 ทั้งสองส่วนงานได้ประกาศเชิญชวนให้มหาวิทยาลัยร่วมพัฒนาศักยภาพการให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตพื้นฐานที่รองรับ IPv6 อย่างน้อย 3 ระบบ ได้แก่ ระบบ DNS Mail และ Web และจะมอบรางวัลแก่มหาวิทยาลัยที่ได้ดำเนินการตามที่กำหนด ใน งานประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ครั้งที่ 31 (31st WUNCA) ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา ระหว่างวันที่ 22 กรกฎาคม 2558
เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2558 UniNet ได้ประกาศรายชื่อมหาวิทยาลัยที่มีความพร้อมในการให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตพื้นฐานที่รองรับ IPv6 ครบ 3 ระบบ ได้แก่ ระบบ DNS Mail และ Web ประกอบด้วย
IPv6 Ready Pioneer Award จำนวน 5 แห่ง ดังนี้
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
- มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
IPv6 Ready Rookie Award จำนวน 10 แห่ง ดังนี้
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยทักษิณ
- มหาวิทยาลัยบูรพา
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยราชภัฏก าแพงเพชร
- มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
นอกจากการพัฒนาใช้ IPv6 กับส่วนของบริการ หรือแม่ข่ายบริการพื้นฐาน ตามที่ใช้ตัดสินในการให้รางวัลแล้ว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานได้นำ IPv6 ไปติดตั้งใช้งานในระดับผู้ใช้ หรือผู้ใช้สามารถมีและใช้ IPv6 ได้ ประกอบด้วย เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย (RMUTI-WiFi) และบางส่วนของเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบสาย
การนำ IPv6 ไปติดตั้งให้ผู้ใช้สามารถมีและใช้ได้นั้น ปัจจุบันได้ดำเนินการในนครราชสีมา ปัจจุบัน ผู้ดูแลระบบกำลังขอความอนุเคราะห์ไปยัง UniNet เพื่อสร้างเส้นทางเพิ่มเติมเพื่อกระจายการติดตั้ง IPv6 ไปยังทุกวิทยาเขต คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2558 นี้