การกำหนดการใช้งาน WebDAV หรือ WebFolders สำหรับ Windows XP

Download PDF

ขั้นตอนการกำหนดคุณสมบัติ

การกำหนดคุณสมบัติการเข้าถึง WebDAV หรือ WebFolders บนวินโดวส์ เป็นการสร้างช่องทางการเข้าใช้บริการไว้ในรายการบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัว เพื่อเปิดโอกาสให้สามารถเข้าถึงในภายหลังได้ โดยไม่ต้องกำหนดคุณสมบัติใหม่อีก
ช่องทางที่สร้างขึ้นนั้น จะกลายเป็นรายการอยู่ใน Windows Explorer ส่วนของ My Network Places โดยมีขั้นตอนการสร้างเป็นรายการดังนี้

  • เปิดใช้งานหน้าต่าง My Network Places จากเมนูของ Microsoft Windows XP (Start >> My Network Places)
  • บนหน้าต่าง My Network Places คลิกคำสั่ง Add a network place จากแถบคำสั่งด้านซ้าย
  • จะพบหน้าต่าง Add Network Place Wizard ให้คลิกปุ่ม Next เพื่อเริ่มขั้นตอนการเพิ่มตำแหน่ง WebFolder ในเครื่อง
:
:
:
:
:
:
:
:
:
:
:
  • จากรายการ Service providers: เลือกรายการชื่อ Choose another network location (Specify the address of Web site, nework location, or FTP site) จากนั้นคลิกปุ่ม Next เพื่อดำเนินการขั้นต่อไป
  • ในช่องกรอกข้อความ Inernet or network address: ให้พิมพ์ตำแหน่ง WebDAV ที่ท่านต้องการเข้าใช้บริการ ซึ่งดูได้จากรายการในหน้า ตำแหน่งการจัดการไฟล์ของเวปหน่วยงานแบบ WebDAV (คลิก) และดำเนินการขั้นต่อไปด้วยการคลิกปุ่ม Next
:
:
:
:
:
  • ในขั้นตอนนี้เป็นการเข้าถึงพื้นที่ WebDAV บนเซิร์ฟเวอร์ จำเป็นต้องระบุสิทธิ์ในการเข้าใช้บริการ จึงต้องกรอกรหัสบัญชีสมาชิกอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัย ในช่อง User name: และรหัสผ่าน ในช่อง Password: พร้อมทั้งคลิกปุ่ม OK เพื่อเข้าสู่การบริการ ทั้งนี้ บุคคลที่มีสิทธิ์ในการเข้าใช้บริการ ณ ตำแหน่งนี้ จะเป็นไปตามสิทธิ์หรือความรับผิดชอบพื้นที่ของเวปไซต์ของหน่วยงานที่ได้รับการแต่งตั้ง หากบัญชีสมาชิก/รหัสผ่าน/หรือสิทธิ์ไม่ถูกต้อง จะปรากฏหน้าต่างการเข้าสู่ระบบอีกครั้ง และจะเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ
  • หากการเข้าสู่ระบบถูกต้อง จะมีหน้าต่างให้บันทึก/จดจำตำแหน่งการเข้าใช้บริการ WebDAV ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะแสดงเป็นรายการในหน้าต่าง My Network Places, ให้พิมพ์ข้อความเพื่อบ่งชี้ในช่อง Type a name for this network place: เช่น My WebDAV Place, ดำเนินการขั้นต่อไปด้วยการคลิกปุ่ม Next
  • หน้าต่างสุดท้ายของ Add a nework place คือการสรุปการดำเนินการมาทั้งหมด, ปิดหน้าต่างด้วยการคลิกปุ่ม Finish สามารถเลือกตัวเลือก [/] Open this network place when I click finish เพื่อเปิดหน้าต่างไฟล์บนพื้นที่ WebDAV ด้วยโปรแกรม Windows Explorer หลังจากสิ้นสุดขั้นตอน

ขั้นตอนการใช้บริการ

การเข้าถึงพื้นที่บน WebDAV หรือ WebFolder จะใช้โปรแกรมจัดการไฟล์บนวินโดวส์ คือ วินโดวส์เอ็กพลอเรอร์ (Windows Explorer) ที่ผู้ใช้วินโดวส์ส่วนใหญ่คุ้นเคยอยู่แล้ว การใช้บริการนำไฟล์เข้าหรือออกระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรากับ WebDAV หรือ WebFolders นั้น ใช้วิธีการ คัดลอก/วาง (Copy/Paste) เช่นเดียวกับการจัดการไฟล์บนวินโดวส์
การเข้าถึงหรือเปิดหน้าต่างพื้นที่บน WebDAV หรือ WebFolders จะเข้าถึงผ่านช่องทางที่ได้กำหนดคุณสมบัติไว้แล้วข้างต้น โดยมีวิธีการพอสรุปดังนี้

  • เปิดใช้งานหน้าต่าง My Network Places จากเมนูของ Microsoft Windows XP (Start >> My Network Places) แสดงด้วยภาพเช่นเดียวกับการกำหนดคุณสมบัติข้างต้น
  • บนหน้าต่าง My Network Places จะพบว่ามีชื่อที่ผ่านการกำหนดคุณสมบัติ เพิ่มขึ้นในรายการ ให้เปิดหรือดับเบิลคลิกที่ชื่อที่เพิ่มขึ้นนั้น โปรแกรมจะดำเนินการระบุสิทธิ์การเข้าถึงพื้นที่บริการ WebDAV ด้วยหน้าต่างถามชื่อบัญชีและรหัสผ่าน
  • กรอกรหัสบัญชีสมาชิกอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัย ในช่อง User name:  และรหัสผ่าน ในช่อง Password: พร้อมทั้งคลิกปุ่ม OK เพื่อเข้าสู่การบริการ
  • หากการระบุสิทธิ์ถูกต้อง โปรแกรมจะแสดงรายการไฟล์และโฟลเดอร์ที่มีอยู่บน WebDAV
  • เนื้อหาหรือรายการในหน้าต่างแสดงพื้นที่ WebDAV จะมีส่วนคล้ายรายการไฟล์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา อีกทั้งการจัดการไฟล์หรือโฟลเดอร์ก็มีวิธีการคล้ายกัน เช่น การลบ การคัดลอก การตัด การย้าย การวาง เป็นต้น
  • ข้อจำกัดของการเข้าถึงไฟล์บน WebDAV คือ ไม่สามารถเปิดและแก้ไขไฟล์จากหน้าต่างนั้นได้โดยตรง แนะนำให้คัดลอกไฟล์ที่ต้องการแก้ไขมาไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อน ดำเนินการแก้ไข แล้วจึงคัดลอกไปไว้ใน WebDAV อีกครั้ง

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

Posted in บริการด้านเครือข่ายและอินเทอร์เน็ต | 1 Comment

ตำแหน่งการจัดการไฟล์ของเวปหน่วยงานแบบ WebDAV หรือ WebFolders

Download PDF

ตำแหน่งการจัดการไฟล์ของเวปหน่วยงาน

โฮมเพจ ผู้รับผิดชอบ ตำแหน่งไฟล์
เวปไซต์หลัก มทร.อีสาน
http://www.rmuti.ac.th
ฝทส., สวท. (WebDAV)
http://webdav.rmuti.ac.th
คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาป้ตยกรรมศาสตร์
http://www.ea.rmuti.ac.th
wittaya, kedkarn (WebDAV)
http://webdav.rmuti.ac.th/faculty/ea
สาขาวิศวกรรมโยธา
http://www.ce.rmuti.ac.th
suwit.kr (WebDAV)
http://webdav.rmuti.ac.th/faculty/ce
สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องจักรกลเกษตร
http://www.ame.rmuti.ac.th
thayawee, yongyuth, kanya, mongkolchai.ka (WebDAV)
http://webdav.rmuti.ac.th/faculty/ame
คณะบริหารธุรกิจ
http://www.rmuti.ac.th/faculty/bba
rattapornrat, meta, wannee, thanapin, natsawan, p_mhee, kingamon, purim (WebDAV)
http://webdav.rmuti.ac.th/faculty/bba
สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
http://www.basr.rmuti.ac.th
panumas, kridsada (WebDAV)
http://webdav.rmuti.ac.th/support/basr
กองกลาง
http://www.rmuti.ac.th/support/doca
pinit.na (WebDAV)
http://webdav.rmuti.ac.th/support/doca
สภาคณาจารย์และข้าราชการ
http://senate.rmuti.ac.th
theeradit.du (WebDAV)
http://webdav.rmuti.ac.th/support/enate
Posted in บริการด้านเครือข่ายและอินเทอร์เน็ต | Comments Off on ตำแหน่งการจัดการไฟล์ของเวปหน่วยงานแบบ WebDAV หรือ WebFolders

บริการพื้นที่สำหรับเวปไซต์หน่วยงานและเวปไซต์ส่วนบุคคล (Web Hosting Service)

Download PDF
บทนำWeb Hosting Diagram

Web Hosting คืออะไร?

Web hosting คือพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูล เช่น HTML,รูปภาพ หรือ โปรแกรมต่างๆ ที่ประกอบรวมกันเป็น “เว็บเพจ (Web Page)” ไว้ที่ “เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server)” ซึ่งมีการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตตลอดเวลา (24 ชั่วโมง/วัน) Web Hosting ทำหน้าที่ ในการแผยแพร่เว็บเพจของเราให้ผู้อื่นเข้าชมได้ โดย Web Hosting จะเชื่อมต่อกับ Internet ตลอดเวลาเพื่อให้บริการเมื่อมีการเรียก ข้อมูลของ Web Site ที่จัดเก็บอยู่

บริการพื้นที่สำหรับเว็บไซต์หน่วยงาน มทร.อีสาน

เป็นบริการพื้นที่เก็บข้อมูลเว็บเพจสำหรับหน่วยงานของ มทร.อีสาน ที่ต้องการประชาสัมพันธ์ข่าวสารหรือข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน โดยมีคุณลักษณะดังนี้
  • สามารถใช้ภาษาสคริบท์ PHP ในการทำเว็บเพจได้
  • สามารถใช้ฐานข้อมูล MySQL ได้
  • ไม่จำกัดพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล
  • ใช้บัญชีสมาชิกอินเทอร์เน็ตในการเข้าจัดการพื้นที่

การจัดการพื้นที่เว็บไซต์ด้วย WebDAV

การบริการ WebDAV ใน มทร.อีสาน

วิธีการกำหนดการใช้งาน WebDAV หรือ WebFolders สำหรับคอมพิวเตอร์

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

Posted in บริการด้านเครือข่ายและอินเทอร์เน็ต | Comments Off on บริการพื้นที่สำหรับเวปไซต์หน่วยงานและเวปไซต์ส่วนบุคคล (Web Hosting Service)

การใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์เมล์แบบเวป (Web-based e-mail)

Download PDF

(ยังไม่สมบูรณ์)

บทนำ

บริการอีเมล์ของ มทร.อีสาน นั้น นอกเหนือการเข้าถึงบริการด้วยโปรแกรมลูกข่ายบริการอีเมล์ (e-Mail client software) เป็นพื้นฐานแล้ว เพื่อความสะดวกต่อการใช้งานของบุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เราได้ไห้บริการอีเมล์แบบเวป เช่นเดียวกับบริการอีเมล์ฟรีทั่วไป ทั้งนี้เราได้ติดตั้งและพัฒนาใช้ด้วยโปรแกรม ราวด์คิวบ์ (Roundcube: http://www.roundcube.net)

ข้อดี

  • ใช้งานได้จากทุกที่ เนื่องจากเป็นบริการในลักษณะเวป ที่ผู้จัดการด้านความปลอดภัยของเครือข่ายส่วนใหญ่มักเปิดให้บริการเข้าถึงได้
  • เพียงมีโปรแกรมเวบบราวเซอร์ (Web browser) และเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก็สามารถใช้บริการได้
  • เรียนรู้วิธีการใช้งานได้ง่าย ด้วยการออกแบบโปรแกรมที่มักเน้นการบริการอีเมล์เป็นหลัก ไม่มีส่วนเพิ่มเติมความสามารถอื่นที่มากเกินไป

ข้อเสีย/ข้อจำกัด

  • เป็นการให้บริการแบบออนไลน์เต็มรูปแบบ โดยในขณะใช้งาน เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

วิธีการใช้บริการ

  • การเข้าใช้งานระบบ
เข้าใช้บริการด้วยโปรแกรมเวปบราวเซอร์ เช่น Internet Explorer, Firefox โดยมีตำแหน่งการเข้าใช้บริการเป็น http://www.rmuti.ac.th/m หรือจากลิงค์บนหน้าเวปไซต์หลักของมหาวิทยาลัย
ภาพที่ 1  หน้าต่างการระบุสิทธิ์เพื่อเข้าใช้บริการ
ภาพที่ 1 เป็นหน้าต่างการระบุตัวตนของผู้มีสิทธิ์เพื่อเข้าใช้บริการอีเมล์ โดยการกรอกชื่อบัญชีสมาชิกในช่อง ‘บัญชีผู้ใช้‘ และกรอกรหัสผ่านในช่อง ‘รหัสผ่าน‘ ตามด้วยการกดแป้นพิมพ์ Enter หรือใช้เมาส์คลิกที่ปุ่ม ‘เข้าสูระบบ
หากท่านเป็นบุคลากรหรือนักศึกษาของมหาวิทยาลัย และไม่มีสิทธิ์เข้าใช้บริการ ให้ดำเนินการสมัครบัญชีสมาชิก ด้วยการคลิกที่ลิงค์ Register? เพื่อเข้าถึง ‘ระบบจัดการบัญชีสมาชิกอินเทอร์เน็ต‘ และดำเนินการตามขั้นตอนการสมัครขอรับบัญชีสมาชิกอินเทอร์เน็ตต่อไป
  • การใช้บริการอีเมล์
    • จอภาพหลักบริการอีเมล์
    • การเปิด/อ่านอีเมล์
    • การเขียน/ส่งอีเมล์
    • การตอบกลับ/ส่งต่ออีเมล์
    • การลบอีเมล์
    • การย้ายอีเมล์
    • การพิมพ์อีเมล์
    • การค้นหาในอีเมล์
    • การแจ้งอีเมล์ที่เป็นแสปม
    • การจัดการ/ทำลายอีเมล์เก่า
  • การจัดการสมุดรายชื่อ
    • จอภาพการจัดการสมุดรายชื่อ
    • การเพิ่มรายชื่อ
    • การแก้ไขรายชื่อ
    • การลบรายชื่อ
  • การปรับแต่งค่าส่วนตัว
    • การปรับแต่งค่าทั่วไป
    • การปรับแต่งกล่องจดหมาย
    • การปรับแต่งชื่อแสดงตัว
  • การออกจากระบบ

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

Posted in บริการด้านเครือข่ายและอินเทอร์เน็ต | Comments Off on การใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์เมล์แบบเวป (Web-based e-mail)

บริการอิเล็กทรอนิกเมล์ (Electronic Mail Service)

Download PDF
อิเล็กทรอนิกเมล์ (Electronic Mail) หรือจดหมายอิเล็กทรอนิก หรือเรียกย่อๆ ว่า อีเมล์ (E-Mail) เป็นบริการพื้นฐานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำหรับหน่วยงานหรือบุคลากรในองค์กรเพื่อการติดต่อสื่อสาร  ทั้งระหว่างบุคลากรภายในองค์กร และหน่วยงานหรือบุคคลอื่นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
บริการอีเมล์ใน มทร.อีสาน เป็นบริการเฉพาะ มีไว้เพื่อบริการแก่หน่วยงาน บุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเท่านั้น โดยหน่วยงานหรือบุคคลดังกล่าวสามารถใช้บริการด้วยการมีบัญชีสมาชิกอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัย
การสมัครเพื่อขอรับบัญชีสมาขิกอินเทอร์เน็ต สามารถดำเนินการแบบออนไลน์บนเวปไซด์ ระบบจัดการบัญชีสมาชิกอินเทอร์เน็ต (http://www.rmuti.ac.th/network/account)

รูปแบบการให้บริการ

บริการอีเมล์ใน มทร.อีสาน มีรูปแบบการให้บริการตามรูปแบบการใช้บริการ ๒ รูปแบบคือ

  1. บริการอีเมล์เฉพาะบุคคล
  2. บริการอีเมล์สำหรับหน่วยงาน

บริการอีเมล์เฉพาะบุคคล

พื้นฐานการใช้บริการอีเมล์ เป็นการบริการเฉพาะบุคคล หรือในที่นี้หมายถึงบริการที่มีให้สำหรับบุคลากรหรือนักศึกษาแต่ละคน มทร.อีสาน มีการบริการอีเมล์แต่บุคลากรและนักศึกษา ใน 2 รูปแบบ ที่มีวิธีการใช้และรูปแบบการเข้าใช้บริการที่ต่างกัน สามารถศึกษาวิธีการใช้งานได้จากรายการดังนี้ คือ

ข้อกำหนดของการบริการเฉพาะบุคคล

ด้วยข้อจำกัดของทรัพยากรและการจัดการด้านความปลอดภัยของเครือข่าย จึงจำเป็นต้องจำกัดการให้บริการอีเมล์ดังรายการต่อไปนี้
  • การจำกัดพื้นที่เก็บอีเมล์: ความจุของพื่นที่บันทึกอีเมล์จะจำกัดตามประเภทของบุคลากรหรือนักศึกษา โดยมีรายละเอียดคือ
    • อาจารย์/เจ้าหน้าที่ มีความจุพื้นฐานที่ 50 MBytes
    • นักศึกษา มีความจุพื้นฐานที่ 20 MBytes
ทั้งนี้พื้นที่ทีจำกัดดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงเมื่อขนาดพื้นที่จัดเก็บอีเมล์ของระบบมีเพิ่มขึ้น หรือได้รับการร้องขออย่างเป็นทางการ

บริการอีเมล์สำหรับหน่วยงาน

เป็นบริการที่หน่วยงานใดๆ ต้องการที่อยู่อีเมล์กลางของหน่วยงานนั้นๆ หรือกล่าวได้ว่าเป็นที่อยู่ที่ผู้ส่งต้องการส่งถึงตัวหน่วยงาน ไม่ใช่ตัวบุคคลในหน่วยงาน

ความต้องการพื้นฐานของบริการ

  1. ที่อยู่อีเมล์ภายใต้ระบบที่อยู่อีเมล์ของมหาวิทยาลัยที่บ่งชี้ว่าเป็นหน่วยงานนั้นๆ เช่น oarit@rmuti.ac.th สำหรับ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  2. บุคคลผู้รับผิดชอบอีเมล์ของหน่วยงาน มีหน้าที่เป็นผู้รับอีเมล์ที่ส่งถึงที่อยู่อีเมล์หน่วยงานนั้นๆ โดยมีข้อบังคับว่า
    • บุคคลเหล่านั้นต้องเป็นหรือมีบัญชีสมาชิกอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัย (สมัครขอรับบัญชีสมาชิกอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยได้ที่ ระบบจัดการบัญชีสมาชิกอินเทอร์เน็ต)
    • บุคคลเหล่านั้นต้องได้รับการแต่งตั้ง หรือยินยอมจากหัวหน้าหน่วยงาน เพื่อรับผิดชอบต่อการรับอีเมล์หรือส่งอีเมล์โดยใช้ที่อยู่อีเมล์ของหน่วยงานเป็นที่อยู่ผู้ส่ง
  3. หน่วยงานสามารถขอมีที่อยู่อีเมล์ได้โดยดาวน์โหลดแบบฟอร์มขอมีที่อยู่อีเมล์ของหน่วยงาน  กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มและส่งไปยัง ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่องานวิชาการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อดำเนินการต่อไป

ลักษณะการทำงานและการใช้บริการของระบบ

การทำงานและการใช้บริการอีเมล์ของหน่วยงาน มีจุดสำคัญอยู่ในขั้นการรับอีเมล์ ดังนั้นจะขออธิบายวิธีการทำงานของระบบในขั้นตอนของการรับอีเมล์ แบบกระชับดังนี้
  1. เมื่อผู้ส่งจากภายนอก(หรือภายใน) ส่งเมล์มายังปลายทางอีเมล์ของหน่วยงาน อีเมล์ดังกล่าวจะถูกสำเนาไปยังผู้รับที่ถูกกำหนดโดยหน่วยงาน โดยหากหน่วยงานแต่งตั้งผู้รับหลายคนระบบจะสำเนาไปยังผู้รับเหล่านั้นทุกคน และกลายเป็นอีเมล์เฉพาะของผู้รับนั้นๆ โดยไม่มีผลต่อกัน
  2. ผู้รับผิดชอบอีเมล์เข้าถึงอีเมล์ของหน่วยงานได้เช่นเดียวกับการเข้าถึงอีเมล์ส่วนบุคคล คือเข้าใช้บริการระบบด้วยบัญชีสมาชิก/รหัสผ่านส่วนบุคคล และจะพบว่าได้รับอีเมล์ของหน่วยงานมาถึงบุคคลเหล่านั้น
  3. หากบุคคลผู้รับผิดชอบอีเมล์หน่วยงาน ต้องการส่งอีเมล์โดยระบุผู้ส่งเป็นที่อยู่ของหน่วยงาน สามารถทำได้ โดยอาศัยความสามารถของโปรแกรมบริการอีเมล์ ทั้งนี้มักอยู่ในการกำหนดคุณสมบัติของโปรแกรมนั้นๆ เช่น การกำหนดตัวตนของผู้ใช้ (Identity)

ข้อชี้แจงอื่น

  • ที่อยู่อีเมล์ของหน่วยงานเป็นเพียงที่อยู่สำหรับรับอีเมล์เท่านั้น ที่อยู่ดังกล่าวไม่มีตัวตนอยู่ในระบบบัญชีสมาชิก
  • การบอกรหัสบัญชีสมาชิกส่วนบุคคลของผู้รับผิดชอบให้บุคคลอื่นทราบ จะหมายถึงเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นที่ไม่ได้รับผิดชอบนั้น เข้าถึงข้อมูลอีเมล์ของหน่วยงาน อันอาจเป็นข้อมูลสำคัญของหน่วยงาน

ช่องทางการเข้าใช้บริการอีเมล์

ผู้จัดการระบบการให้บริการอีเมล์ ได้ดำเนินการติดต้้งซอฟต์แวร์เพื่อรองรับการเข้าใช้บริการ สำหรับผู้มีสิทธิ์ใช้บริการ จำนวน ๒ ช่องทาง คือ

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

Posted in บริการด้านเครือข่ายและอินเทอร์เน็ต | Comments Off on บริการอิเล็กทรอนิกเมล์ (Electronic Mail Service)