ทรัพยากรป่าชายเลน
ป่าชายเลน เป็นระบบนิเวศของป่าชายฝั่งที่ทนต่อสภาพความเค็มได้และเป็นกลุ่มแรกของสิ่งมีชีวิตที่บุกเบิกชีวิตความเป็นอยู่ลงไปสู่ทะเลพร้อม
ๆ กับการชักนำพื้นแผ่นดินให้รุกล้ำตามลงไปในทะเล จึงนับเป็นปราการด่านแรกระหว่างบกกับทะเล
โดยจะประกอบด้วยพันธุ์ไม้ สัตว์นานาชนิด ตลอดจนสภาพแวดล้อมอื่น ๆ เช่น การขึ้นลงของน้ำทะเล
ดินเลนที่มีอินทรียสารเป็นจำนวนมาก ฯลฯ อยู่รวมกันเป็นระบบ
ป่าชายเลน เป็นกลุ่มของสังคมพืช ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไม้ไม่ผลัดใบ
มีลักษณะทางเสรีวิทยาและการปรับตัวทางโครงสร้าง ที่คล้ายคลึงกันและการขึ้นของพรรณไม้ในป่าชายเลน
จะขึ้นอยู่กับแนวเขต ซึ่งผิดแปลกไปจากสังคมพืชป่าบก ทั้งนี้เพราะอิทธิพลจากลักษณะของดิน
ความเค็มของน้ำทะเลและการขึ้นลงของน้ำทะเลเป็นสำคัญสำหรับแนวเขตที่เด่นชัด ของป่าชายเลน
ได้แก่
โกงกาง ทั้งโกงกางใบเล็กและโกงกางใบใหญ่
จะขึ้นอยู่หนาแน่นบนพื้นที่ใกล้ฝั่งทะเล
ไม้แสมและประสัก จะอยู่ถัดจากแนวเขตของโกงกาง
ไม้ตะบูน จะอยู่ลึกเข้าไปจากแนวเขตของไม้แสมและประสัก
เป็นพื้นที่ที่มีดินเลน แต่มักจะแข็ง ส่วนบนพื้นที่ดินเลนที่ไม่แข็งมากนักและมีน้ำทะเลท่วมถึงเสมอ
จะมีไม้โปรง รังกะแท้ และฝาด ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น
ไม้เสม็ด จะขึ้นอยู่แนวเขตสุดท้าย
ซึ่งเป็นพื้นที่เลนแข็งที่มีน้ำทะเลท่วมถึงเป็นครั้งคราว เมื่อระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุดเท่านั้น
และแนวเขตนี้ถือว่าเป็นแนวติดต่อระหว่างป่าชายเลนกับป่าบก
สำหรับพวกปรง จะพบทั่ว ๆ ไปในป่าชายเลน
แต่จะขึ้นอย่างหนาแน่นในพื้นที่ถูกถาง
ความสำคัญของป่าชายเลน
ป่าชายเลนมีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างมหาศาลต่อมนุษย์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ
สังคมและทางด้านนิเวศวิทยา ดังนี้
1. การนำไม้มาใช้ประโยชน์
ไม้ที่ได้จากป่าชายเลน นอกจากนำมาใช้เพื่อการเผาถ่านแล้วยังสามารถใช้เพื่อเป็นไม้ฟืน
ไม้เสาเข็ม ไม้ค้ำยันเฟอร์นิเจอร์
2. เป็นที่ป้องกันชายทะเล
โดยป่าชายเลนจะทำหน้าที่เสมือนเขื่อนป้องกันคลื่นลมพายุไม่ให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์และระบบนิเวศอื่น
ๆ
3. ทำหน้าที่เป็นแหล่งกักตะกอนสิ่งปฏิกูลและสารมลพิษต่าง
ๆ จากบนบกไม่ให้ลงสู่ทะเล
4. ช่วยให้มีการงอกตัวของแผ่นดิน
จากการที่ตะกอนดินทราบซึ่งไหลมากับแม่น้ำ เมื่อถูกขวางกั้นด้วยแนวป่าชายเลน ทำให้กระแสดน้ำลดความเร็วลงเกิดตะกอนทับถม
5. นิเวศวิทยาป่าชายเลน
เป็นระบบนิเวศที่เหมาะสมกับการวางไข่ การหาอาหาร และการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำเศรษฐกิจหลายชนิดและเป็นแหล่งชุมชมของนก
สัตว์ป่าหลายชนิด
6. เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ
ความสวยงานจากพรรณไม้ต่าง ๆ ตั้งแต่เฟิร์น กล้วยไม้ และต้นไม้ใหญ่ที่เพิ่มความแปลกตาแก่ทิวทัศน์ทางทะเล
สาเหตุและผลกระทบปัญหาที่ทรัพยากรป่าชายเลน
ปัจจุบันป่าชายเลนของประเทศไทย
ซึ่งขึ้นอยู่ตามบริเวณช่ายฝั่งทะเลที่เป็นโคลนตมและบริเวณที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำลำธารในบริเวณชายฝั่งของอ่าวไทย
ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกและด้านตะวันตกของภาคใต้ นับแต่จะลดพื้นที่ลงเนื่องจากกิจกรรมต่าง
ๆ ที่ใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลน จนทำให้เกิดความเสื่อมโทรมทำลายป่าชายเลน ซึ่งพอจะจำแนกได้ดังนี้
1. การป่าไม้ หมายถึง
ทั้งการทำไม้สัมปทาน ตามวิธีการที่รัฐกำหนดการทำป่าไม้ในเขตสัมปทาน แต่หลีกเลี่ยงไม่ทำตามข้อกำหนดของรัฐ
รวมทั้งการบุกรุกทำลายป่า โดยตัดฟันไม้เพื่อนำมาใช้ประโยชน์
2. การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
หมายถึง เฉพาะการทำบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และสถานีเพาะพันธุ์สัตว์น้ำในพื้นที่ป่าชายเลนบริเวณพื้นที่โครงการ
3. การเกษตรกรรมในพื้นที่ป่าชายเลน
4. การทำเหมืองแร่ในพื้นที่ป่าชายเลน
5. การขยายตัวของชุมชน
6. การก่อสร้างท่าเทียบเรือทุกขนาด
การก่อสร้างอู่ต่อเรือและสะพานปลา
7. การก่อสร้างถนน
รวมทั้งสายส่งไฟฟ้า
8. การก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม
9. การขุดลอกร่องน้ำ
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน
ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลน
ได้ก่อให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมดังนี้
1. ผลกระทบทางกายภาพ
ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศป่าชายเลน คือ อุณหภูมิปริมาณธาตุอาหาร ความเค็ม
สภาพทางอุทกวิทยาการตกตะกอน ปริมาณมลพิษในน้ำเป็นต้น
2. ผลกระทบทางชีววิทยา
ได้แก่ การลดปริมาณพรรณไม้ส่วนรวม การลดการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติ การลดปริมาณหรือการสูญเสียพันธุ์ไม้มีค่าหรือหายาก
การสะสมพิษในห่วงโซ่อาหาร การเกิดโรคระบาด การทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยธรรมชาติ