หน้าหลัก
ความหมายทรัพยากรธรรมชาติ
ประเภททรัพยากรธรรมชาติ
ความสำคัญและผลกระทบ
วิกฤตการทรัพยากรธรรมชาติในปัจจุบัน
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ
          - ทรัพยากรน้ำ
          - ทรัพยากรดิน
          - ทรัพยากรป่าไม้
          - ทรัพยากรสัตว์ป่า
          - ทรัพยากรแร่ธาตุ
          - ทรัพยากรพลังงาน
          - ทรัพยากรป่าชายเลน
          - ทรัพยากรปะการัง
แนวทางการอนุรักษ์
ความหมายและความสำคัญ
หลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
          - ทรัพยากรน้ำ
          - ทรัพยากรดิน
          - ทรัพยากรป่าไม้
          - ทรัพยากรสัตว์ป่า
          - ทรัพยากรแร่ธาตุ
          - ทรัพยากรพลังงาน
          - ทรัพยากรป่าชายเลน
          - ทรัพยากรปะการัง













การอนุรักษ์ปะการัง

          1. ไม่เก็บปะการังที่หักหรือเก็บขึ้นมาจากท้องทะเล ในแต่ละกิ่งแต่ละก้านนั้น หมายถึง ชีวิตนับร้อยนับพันชีวิตที่ต้องตายลงจากโครงสร้างของปะการังที่ต้องใช้เวลานับร้อยนับพันปีในการเจริญเติบโต และการเสื่อมสลายของปะการังนั้นนำไปสู่ผลของการเสื่อมสูญอาหารจากทะเลในอนาคต เพราะปะการังเป็นที่อยู่อาศัยของชีวิตจากท้องทะเล เราจึงไม่ควรเก็บ ซื้อปะการังมาเป็นของที่ระลึก หรือประดับตู้ปลา
          2. ไม่ทิ้งสมอเรือในแนวปะการัง การทอดสมอเรือในแนวปะการังเพื่อจอดเรือในแต่ละครั้งจะสร้างความเสียหายให้กับปะการัง ปัจจุบันได้มีการแก้ไขโดยการวางทุ่นเพื่อผูกเรือแทนการทอดสมอเรือ เพื่อการคุ้มครองปะการัง กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยความช่วยเหลือทางวิชาการ จากมหาวิทยาลัยโรดส์ไอร์แลนด์ แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดทำทุ่นเพื่อผูกเรือได้ประมาณ 2-3 ลำต่อทุ่น
          3. ไม่ทิ้งขยะ นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปต้องไม่ทิ้งขยะและเศษสิ่งของลงท้องทะเล เพราะธรรมชาติจะสวยงามได้ตลอดไป ตราบเท่าเราไม่เข้าไปทำลาย การค้าขายปะการัง ในฐานะประชาชนในท้องถิ่นของเราให้หมดไป
          4. นำเรือท้องกระจกเพื่อให้ดูปะการัง
          5. ประชาสัมพันธ์ให้มีการตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรปะการัง โดยให้มีการศึกษาและเผยแพร่ความรู้และคุณค่าของปะการังให้กับบุคคลทุกประเภท ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ในการป้องกันและฟื้นฟูปะการัง
          6. ส่งเสริมให้กลุ่มชุมชน องค์กรเอกชนสมาคมหรือชมรมการท่องเที่ยว ร่วมกันจัดกิจกรรมในเรื่องการรักษาความสะอาด เพื่อการคุ้มครองปะการัง