4.1.3
แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม
หลักการพื้นฐานในการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สําคัญมีดังนี้ (เกษม , 2535)
1. ควบคุมเทคโนโลยีการใช้และการแปรรูปให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยให้เกิดของเสียและมลสารน้อยที่สุด
2. ไม่ใส่มลสารเข้าสู่ขบวนการใช้และการแปรรูป แต่ถ้าจําเป็นต้องควบคุมปริมาณทั้งที่ใช้
และการแปรรูป แต่ถ้าจําเป็นต้องควบคุมปริมาณทั้งที่ใช้ให้อยู่กว่าเกณฑ์มาตรฐาน
3. ควบคุมปริมาณการใช้ทรัพยากรให้พอเหมาะพอดี โดยส่วนที่เหลือจะต้องทําหน้าที่ได้เท่ากับปริมาณที่มีตามปกติ
4. เมื่อใดก็ตามที่จะมีการใช้ทรัพยากรอย่างหนึ่ง แล้วส่งผลกระทบกับอีกทรัพยากรหนึ่งต้องไม่ทําให้ของเสียหรือมลสาร
มีพิษต่อทรัพยากรนั้น ๆ เช่น ผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยถ่านหินลิกไนต์ต้องไม่ให้เกิดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซต์
มีค่าเกินมาตรฐาน
5. ใช้มาตรการทางกฎหมาย เพื่อป้องกัน พร้อมทั้งระบุโทษให้ประจักษ์ชัดตามความรุนแรงของการกระทํา
การแก้ไขปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม อาจจะกระทําได้ดังนี้
1. ไม่ให้เกิดการสัมผัสทั้งห้า หมายความว่า ถ้าเสียงดังใช้เครื่องปิดหู กลิ่นเหม็นใช้หน้ากากปิดปาก
จมูก แสงมากใช้ แว่นกันแสง เกิดการระคายเคืองใช้เสื้อผ้าป้องกันการสัมผัส และวิธีเลือกอาหารรับประทาน
2. การกําจัดของเสียที่เป็นของแข็ง จะใช้วิธีการเลือกของเสียที่สามารถนํามาใช้ประโยชน์ได้มาเข้า
ขบวนการผลิตของเสีย เช่น กากของสารอินทรีย์ทําปุ๋ยหมัก ถ้าเป์นโลหะนํากลับมาหลอมใหม่
และส่วนที่ใช้ไม่ได้อีกแล้วอาจจะใช้วิธีเผาหลอมแล้วแยกสาร หรือฝังกลบให้มิดชิด
เป็นต้น
3. การบําบัดของเสียที่เป็นของเหลว เช่น น้ำเสียใช้วิธีบําบัดน้ำเสีย ซึ่งมีหลายรูปแบบทั้งทางฟิสิกส์-
เคมี และชีววิทยา จนกว่าจะได้น้ำทิ้ง (effluent) ที่มีค่าความสะอาดใกล้เคียงธรรมชาติ
หรือมาตรฐาน
4. กําจัดของเสียที่เป็นฝุ่นละออง หรือก๊าซพิษ มีเครื่องกรอง ผสมสารเคมี หรือเป์นรูปแบบผสมผสานกับ
สารละลาย เป็นต้น
5. กรณีที่ หลีกเลี่ยงไม่ได้และมีการปนเปื้อนของสารพิษต้องมีการวางแผนการใช้ที่ดินอย่างเข้มงวด
เช่น เฟืองหรือชุมชนจะช่วยลดปริมาณมลสารเหล่านั้นมิให้เกิดพิษภัยต่อผู้อาศัยได้
6. การติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ขั้นสุดท้ายของการวิเคราะห์ปัญหาสิ่งแวดล้อม
ต้อง มีการติดตามตรวจสอบเป็นระยะไปเพื่อเป็นการป้องกันผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งระยะสั้น
และ ระยะยาว ปกติจะเป็นการตรวจวัดตามสถานีต่าง ๆ โดยรอบพื้นที่ศึกษา ในระยะที่มลพิษระดับ
ต่างกันจะไปถึงได้ เช่น ก๊าซที่ปล.อยออกมาจากปล่อยโรงงานที่ใช้เชื้อเพลิง เช่น
กํามะถัน คาร์บอน และไนโตรเจน มีปริมาณมากน้อยเพียงใดหลังจากเกิดปฏิกิริยาทางเคมีในบรรยากาศ
แล้วอาจจะเป็นกรด (ฝนกรด) ตกใกล้พื้นที่ศึกษาหรือไกลออกไป นอกพื้นที่ศึกษาตามกระแสลม