สาเหตุและผลกระทบของมลพิษทางความร้อน
สาเหตุของมลพิษทางความร้อน

1. ชนิดของก๊าซที่ปกคลุม ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และคาร์บอนมอนอกไซด์รวมตัวกัน เป็นกลุ่มอย่างหนาแน่นเป็นชั้นอยู่ในบรรยากาศ กลุ่มก๊าซนี้จะสกัดความร้อนที่สะท้อนจากวัตถุบน ผิวโลก ทําให้ผิวโลกร้อนระอุ กลุ่มก๊าซหรือชั้นของก๊าซสามารถสกัดกั้นความร้อนไว้ได้ เนื่องจาก แสงที่ส่องจากดวงอาทิตย์ เป็นรังสีคลื่นสั้นสามารถผ่านกลุ่มหรือชั้นของก๊าซลงมาได้ เมื่อรังสีคลื่น สั้นกระทบผิววัตถุบนผิวโลก รังสีคลื่นสั้นจะเปลี่ยนเป็นรังสีคลื่นยาวสะท้อนกลับขึ้นไป รังสีคลื่น ยาวที่สะท้อนกลับขึ้นไปนี้ไม่สามารถผ่านกลุ่มหรือชั้นของก๊าซไปได้ จึงเกิดสะสมภายใต้ก๊าซที่ปก คลุมอยู่ ปรากฏการณ์เช่นนี้เรียกว่า อิทธิพลเรือนกระจก (Green house effect) เพราะเหมือนกับที่ ปรากฏในเรือนกระจกที่มีวัตถุโปร่งแสง เช่น พลาสติกปกคลุม นับวันปรากฏการณ์นี้มีแนวโน้ม รุนแรงขึ้น เนื่องจากมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอออกไซด์สู่บรรยากาศเพิ่มขึ้นปีละ 20-25 %
2. การใช้สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Chlorofluoro carbon หรือ CFC ) ซึ่งมนุษย์นํามาใช้ ในกระป๋องสเปรย์ อุตสาหกรรมหล่อเย็น โฟม และอื่นๆ รวมทั้งใช้ในการทําความสะอาดชิ้นส่วน เล็กๆ ของเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์ สารตัวนี้เป็นก๊าซเฉื่อย (Inert gas) มีความคงตัวสูง มาก สามารถล่องลอยอยู่ในบรรยากาศจนถึงชั้นโอโซนซึ่งอยู่เหนือพื้นโลก ทําให้โมเลกุลของ โอโซนกลายเป็นออกซิเจนและสารประกอบอื่นๆ ซึ่งจะทําให้ชั้นของโอโซนบางลง เป็นเหตุให้ ปริมาณรังสีจากดวงอาทิตย์รวมทั้งรังสีอินฟราเรดที่เป็นรังสีความร้อนสามารถผ่านชั้นโอโซนมายัง โลกได้มากขึ้น ทําให้โลกร้อนขึ้น
3. ความร้อนจากดินและสิ่งก่อสร้าง ได้จากแสงดวงอาทิตย์ในตอนกลางวัน ความร้อนที่ คายออกมาเป็นไปในอัตราต่ำ เมื่อไม่มีแสงอาทิตย์ ความร้อนในอากาศลดลง ความร้อนจากดิน และสิ่งก่อสร้างจึงคายออกมาในอัตราที่สูง แต่จะคายได้ดีแค่ไหนขึ้นกับสัมประสิทธิ์ของการนํา ความร้อนของดินและสิ่งก่อสร้างนั้นๆ (ดินเปียกคายความร้อนได้เร็วกว่าดินแห้ง) ไม่คายความร้อน ได้เร็วกว่าทรายและซีเมนต์)
4. ความร้อนจากเครื่องทําความเย็น ตู้เย็น เครื่องทําน้ำแข็ง เครื่องปรับอากาศ และโรงงาน อุตสาหกรรม การทํางานของตู้เย็น เครื่องทําน้ำแข็งและเครื่องปรับอากาศ ต่างอาศัยหลักการทํางาน เดียวกัน คือดูดความร้อนจากภายในแล้วคายความร้อนออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก ทําให้อุณหภูมิ ของบรรยากาศภายนอกสูงขึ้น ความร้อนจากโรงงานอุตสาหกรรมและสถานที่ที่มีการเผาไหม้อื่นๆ เกิดเนื่องจากการใช้พลังงานในการเผาไหม้ การจุดระเบิดของเครื่องทุ่นแรงต่างๆ
5. ความร้อนจากความร้อนแฝง ในบริเวณเขตร้อนมักมีเมฆมากและก่อตัวเป็นเวลานานๆ ทําให้บรรยากาศร้อนอบอ้าว ความร้อนนี้เรียกว่า ความร้อนแฝง เกิดเนื่องจากความร้อนที่คายออก มาขณะที่ไอน้ำกลั่นตัวเป็นของเหลวก่อนที่จะรวมตัวเป็นหยดน้ำตกลงเป็นฝน

ผลกระทบของมลพิษทางความร้อน
ผลกระทบของความร้อนมีหลายประการ ได้แก่
1. ผลกระทบต่อสุขภาพและการทํางานของมนุษย์
1.1 ทางด้านสรีระ ทําให้ระบบขับถ่ายน้ำจากร่างกายทํางานหนักผิดปกติ ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย กระเพาะอาหารทําหน้าที่ไม่ปกติ
1.2 ทางด้านจิตใจ ความร้อนทําให้อารมณ์หงุดหงิด โกรธง่าย คลุ้มคลั่ง
1.3 การทํางาน ทําให้ประสิทธิภาพในการทํางานลดต่ำลง
2. ผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคม
ในปัจจุบันช่วงฤดูร้อนของประเทศไทยและหลายๆ ประเทศในแถบศูนย์สูตร จะมีอุณหภูมิ สูงเกินกว่า 40 องศาเซลเซียส ทําให้ต้องหันมาอาศัยอุปกรณ์ระบายความร้อนทั้งในบ้านเรือนและที่ทํางาน เช่น พัดลม และเครื่องปรับอากาศ ทําให้ต้องสูญเสียทรัพยากรซึ่งเป็นแหล่งพลังงานมากขึ้น นอกจากนั้นในภูมิประเทศที่มีอุณหภูมิร้อนจัดหรือหนาวเย็นจัด อาจทําให้มนุษย์ สัตว์ และพืชตายได้ หรือมนุษย์มีการย้ายถิ่นฐานหลบหนีอากาศที่ผิดปกตินั้น ทําให้เกิดปัญหาสังคมและสูญเสีย ด้านเศรษฐกิจตามมา
3. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่
3.1 ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เนื่องจากความร้อนทําให้น้ำทะเลขยายตัวและน้ำแข็งแถบ ขั้วโลกละลาย นักวิทยาศาสตร์คาดว่าหากน้ำแข็งในทะเลขยายตัวและน้ำแข็งแถบขั้วโลกใต้ละลาย หมด ระดับน้ำทะเลอาจเพิ่มสูงขึ้นถึง 3 เมตร หรือมากกว่านี้
3.2 การแปรปรวนของอากาศ และเอลนิโน (El Nino-oscillation) ซึ่งเป็นระบบการ เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในคาบสมุทรแปซิฟ.ก จากการเฝ้าสังเกตของนักวิทยาศาสตร์พบว่า พายุ ไซโคลนบริเวณหมู่เกาะฟูจิ เพิ่มความถี่จาก 3.1 ครั้งต่อ 10 ปี ในทศวรรษ 1940 เป็น 15 ครั้ง ใน ทศวรรษ 1980 แสดงว่าความแปรปรวนของอุณหภูมิสูงขึ้น เนื่องจากบรรยากาศของโลกร้อนขึ้น 3.3 ความแห้งแล้งของแหล่งน้ำ เนื่องจากแหล่งน้ำจืดต่างๆ จะได้รับผลกระทบจากน้ำ ทะเลหนุน และเกิดความเปลี่ยนแปลงของแหล่งน้ำต่างๆ ได้เนื่องจากการระเหยน้ำที่เร็วขึ้นและการ ตกกระจายของฝนไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ทําให้เกิดความแห้งแล้งในบางบริเวณและเกิดแหล่งน้ำใหม่ ในบางท้องที่

 

สาเหตุและผลกระทบของมลพิษทางอาหาร ความร้อน เสียงและรังสี