2. การกําจัดความเน่าเสียโดยธรรมชาติ โดยปกติปฏิกูลที่ทิ้งลงในน้ำจะถูกจุลินทรีย์กําจัดอยู่
แล้วโดยธรรมชาติ น้ำในแม่น้ำลําคลองที่มีปริมาณสารอินทรีย์มากเกินไปจะทําให้เกิดสภาวะ
ที่ไม่เหมาะตอการดํารงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในน้ำ ธรรมชาติมีกระบวนการกําจัดเพื่อช่วยลด
สารอินทรีย์ให้มีจํานวนคงที่และเหมาะแก่สิ่งมีชีวิต ในกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์
์โดยใช้ออกซิเจนช่วยนี้ จุลินทรีย์ที่มีอยู่มากมายในน้ำจะทําการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ
ให้กลายเป็นแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำมนุษย์และสัตว์หายใจออกมาก็มีแก๊สนี้ปะปนอยู่
พืชสีเขียวสามารถนําไปใช้สังเคราะห์แสงได้ผลจากปฏิกิริยาการสังเคราะห์แสงทําให้
ได้พลังงานซึ่งจุลินทรีย์จะนําไปใช้ในการดํารงชีวิตต่อไป วิธีแก้ไขหรือป้องกันมิให้น้ำเสีย
วิธีหนึ่งก็คือ ควบคุมจํานวนจุลินทรีย์ให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม ไม่มากเกินไปจนเกิดการ
ขาดแคลนออกซิ เจน หรือไม่น้อยเกินไปจนย่อยสลายไม่ทัน รวมทั้งต้องควมคุมปริมาณ
ออกซิเจนในน้ำให้มีพื้นที่ผิ วน้ำมากพอที่จะทําให้ ออกซิเจนแทรกลงไปในน้ำได้สะดวก
ซึ่ง อาจช่วยได้ด้วยการทําให้อากาศในน้ำเกิดการหมุนเวียนตลอดเวลานอกจากนี้อาจจะใช้วิธีการ
เลี้ยงปลา เช่นที่สหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จํากัด ใน พระบรมราชูปถัมภ์ใช้วิธี
การเลี้ยง ปลานิลในบ่อน้ำทิ้งที่ใช้ในการล้างทําความสะอาดอุปกรณ์ และเครื่องจักรที่ปนเปื้อนนม
ปลานิลจะกําจัดน้ำเสียโดยกินเศษนมที่ปนอยู่ในน้ำ เป็นต้น
3. การทําให้เจือจาง หมายถึงการทําให้ของเสียเจือจางลงด้วยน้ำจํานวนมากเพียงพอ
เพื่อลด ปริมาณความสกปรก เช่น การระบายน้ำเสียลงในแม่น้ำลําคลอง ในการระบายนั้นจําเป็น
ต้องคํานึงถึงปริมาณความสกปรกที่แหล่งน้ำนั้นจะสามารถรับได้ด้วย ปริมาณความสกปรก
ของน้ำ ที่แหล่งน้ำจะรับได้ขึ้นอยู่กับปริมาตรน้ำที่ใช้ในการเจือจาง หรือขึ้นอยู่กับอัตราการ
ไหลของน้ำในแหล่งน้ำ วิธีนี้จําเป็นต้องใช้เนื้อที่กว้าง หรือปริมาตรมากจึงจะพอเพียงต่อ
การเจือจางความสกปรก โดยสากลถือว่าน้ำสะอาดควรมีค่า บีโอดี 2 มิลลิกรัมต่อลิตร
ถ้าค่า บีโอดี มากกว่า 100 มิลลิกรัมต่อลิตร ถือว่าน้ำนั้นมีโอกาสเน่าเสียได้
น้ำทิ้งควรมีค่าสาร แขวนลอย 30 มิลลิกรัมต่อลิตร และค่า บีโอดี 20 มิลิกรัมต่อลิตรซึ่งเมื่อถูกเจือจาง
ด้วยน้ำสะอาดจากแม่น้ำ 8 เท่าแล้ว จะมีค่า บีโอดี ไม่เกิน 4 มิลลิกรัมต่อลิตรน้ำใน
ลักษณะดังกล่าวถือว่าไม่มีความเน่าเสียแล้ว
4. การทําให้กลับคืนสู่สภาพเดิมและการนํากลับมาใช้อีก เป.นวิธีทําให้น้ำทิ้งกลับคืนมาเป็นผล
พลอยได้และนํามาใช์ประโยชน์ได้อีก หลักการนี้มีผลดีต่อโรงงานอุตสาหกรรมโดยตรง
ในการลดปริมาณของเสียที่ปล่อยจากโรงงาน โดยช่วยลดค่าใช้จ่ายในการกําจัดของเสีย
ประหยัดค่าใช้จ่ายในการผลิตเนื่องจากนําสิ่งที่ใช้แล้วมาใชได้อีก การนําเอาน้ำที่ใช้แล้ว
กลับมาใช้ในกิจการอื่นอีก ไม่จําเป็นต้องใช้น้ำที่มีความสะอาดมากนัก ดังนั้นในปัจจุบัน
วิธีการนี้จึงเป็นที่นิยมกันมาก
5. ในกรณีที่น้ำเน่าเสียแล้ว ห้ามทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในแหล่งน้ำอีก ทั้งนี้เพื่อให้เวลากับแหล่งน้ำ
กลับคืนสู่สภาพปกติตามธรรมชาติ แต่ถ้าการกลับคืนสู่สภาพเดิมช้าเกินไป สามารถเร่งได
้ด้วยการเพิ่มออกซิเจนเพื่อให้แบคทีเรียทํางานได้ดีขึ้น โดยกระทําดังนี้
- ทําให้ลอยตัว โดยใช์โฟลตติง แอเรเตอร์ (Flaoting aerator) หลาย ๆ ตัวเติมออกซิเจน
เป็นระยะ ๆ ตลอดลําน้ำที่เน่าเสีย วิธีนี้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง จึงนิยมใช้กับปากแม่น้ำที่ติด
ทะเล ซึ่งมีการเน่าเสียร้ายแรงกว่าบริเวณอื่น ๆ
- ใช้เรือแล่น เพื่อให้เกิดฝอยน้ำและคลื่นเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่ลําน้ำบริเวณที่เสีย
- เพิ่มปริมาณน้ำ และอัตราการไหลของน้ำให้ไหลพัดพาน้ำส่วนที่เน่าเสียลงในทะเล
ให้หมดโดยใช้ฝนเทียมช่วย
6. การกักเก็บของเสียไว้ระยะหนึ่งก่อนปล่อย หรือกักเก็บไว้เพื่อปล่อยออกทีละน้อยโดย
สม่ำเสมอ ทั้งนี้เพื่อให้เวลาของเสียเปลี่ยนแปลงสลายตัวไปเองตามธรรมชาติ
7. การถ่ายเทของเสียจากที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง เพื่อเปลี่ยนแปลงแหล่งรับของเสียใหม่
ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการทิ้งของเสียจํานวนมากเกินไปลงสู่แหล่งรับของเสียเดิมจนทําให้เกิด
ปัญหาสิ่งแวดล้อมเสียอีก
การป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำ อากาศ ดินและขยะ |