แนวทางป้องกันและแก้ไขมลพิษทางอาหาร
การป้องกันและแก้ไขมลพิษจากสารเคมีที่ปนเปื้อนในอาหาร

1. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารซึ่งมีสารเคมีที่ก่อให้เกิดอันตราย
2. หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะที่ก่อให้เกิดสารพิษที่ปนเปื้อนในอาหาร
3. เมื่อเกิดอาการผิดปกติหรืออาการแพ้จากการรับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งให้หยุด รับประทานอาหารชนิดนั้นทันที ถ้ามีอาการรุนแรงให้ไปพบแพทย์ อย่างไรก็ตามการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษด้านต่าง ๆ ต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากภาค รัฐ ภาคเอกชน และประชาชน โดยมีภาครัฐบาลเป็นแกนนํา และมีแผนการดําเนินงานที่ชัดเจน ดังตัว อย่างที่จะกล่าวถึงต่อไป

แนวทางป้องกันและแก้ไขมลพิษทางความร้อน

การป้องกันและแก้ไขมลพิษทางความร้อน
ควบคุมการปล่อยแก๊สเรือนกระจกสู่บรรยากาศ เช่น ลดการใช้สารซีเอฟซี ส่งเสริมให้มีการวิจัยเพิ่มเพื่อค้นหาแหล่งพลังงานทดแทน เพื่อหาแหล่งพลังงานที่เกิดการเผา ไหม้แล้วไม่ก่อให้เกิดสารมลพิษ เช่น การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม เป็นต้น รวมทั้งส่ง เสริมการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้พลังงานนิวเคลียร์
3. ใช้หลักการอนุรักษ์ทรัพยากรพลังงาน โดยหาวิธีการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพ สูงสุด
4. ประชาสัมพันธ์เผยแพร่และให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อให้ตระหนักถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้น ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

แนวทางป้องกันและแก้ไขมลพิษทางเสียง
การป้องกันและแก้ไขมลพิษทางเสียง

1. ปรับปรุงแก้ไขอํานาจหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่องเสียงซึ่งทํางานซ้ำซ้อนกัน เช่น สํานักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กรมโรงงานอุตสาหกรรม และกรมการบินพาณิชย์ เป็นต้น
2. ควบคุมทางด้านวิศวกรรมในการสร้างเครื่องจักร เครื่องยนต์ และการใช้วัสดุกันเสียง
3. เร่งรัดและสนับสนุนให้ออกกฎหมาย พระราชบัญญัติหรือระเบียบกําหนดมาตรฐานควบ คุมการใช้เสียงในสถานประกอบการ (ตารางที่ 4-5) และการใช้ยวดยานพาหนะ ตารางที่ 4-5 แสดงความสัมพันธุ์ของเวลาทํางานกับระดับเสียงที่ดังติดต่อกันจาก OSHA
(United States Labour Department’s Occupational and Health ACT)

ระดับเสียง
(เดซิเบล)
เวลาที่อนุญาตเป็นชั่วโมงที่
ทำงานได้ในแต่ละวัน
ระดับเสียง
(เดซิเบล)
เวลาที่อนุญาตเป็นนาทีที่
ทำงานได้ในแต่ละวัน

90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
10
101
102
103
104
105

8
7
6
5
4 1/2
4
3 1/2
3
2 1/2
2 1/4
2
1 2/4
1 1/2
1 1/4
1 1/8
1

106
107
108
109
110
111
112
113
114
115





52
45
37
33
30
20
22
18
16
15






(สํานักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ อ้างจาก ศิริพรต ผลสินธุ.. 2534 : 225)

4. กําหนดให้มีการติดตามผลโดยออกตรวจสอบระดับเสียงตามแหล่งกําเนิดเสียงอึกทึก ต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม และยวดยานพาหนะต่าง ๆ เป็นต้น มนุษย์เราส่วนใหญ่คงไม่อยากอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่อึกทึกครึกโครม ถ้าทุกคนช่วยกัน สิ่ง แวดล้อมของเราคงจะน่าอยู่และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของทุกคน องค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่ง สหรัฐอเมริกา (เอพีอี) ได้สรุปว่า ผู้ที่ได้ยินเสียงดังตลอด 24 ชั่วโมง เฉลี่ยเกิน 70 เดซิเบล จะกลายเป็น คนหูตึงภายในเวลา 40 ปี

แนวทางป้องกันและแก้ไขมลพิษทางรังสี
การป้องกันและแก้ไขมลพิษทางรังสี

1. พยายามลดปริมาณการใช้สารกัมมันตรังสี ใช้เท่าที่จําเป็น
2. การทําสารกัมมันตรังสีต้องมีระบบความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน

 

แนวทางป้องกันและแก้ใขปัญหามลพิษทางอาหาร ความร้อน เสียงและรังสี