welcome to

About RMUTI

              ประวัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 เหตุผล โดยที่มาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 บัญญัติให้สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษา ระดับปริญญาเป็นนิติบุคคล เพื่อให้สถานศึกษาของรัฐดำเนินกิจการได้โดยอิสระสามารถพัฒนาระบบบริหาร และการจัดการที่เป็นของตนเอง มีความคล่องตัวมีเสรีภาพทางวิชาการและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภามหาวิทยาลัยฯ ดังนั้นสมควรจัดตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 9 แห่ง ขึ้นแทนสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เป็นหนึ่งในจำนวนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เน้นด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี ที่มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงที่มุ่งเน้นการปฏิบัติ ทำการสอน ทำการวิจัย ผลิตครูวิชาชีพ ให้บริการทางวิชาการในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยต่อยอดให้ผู้สำเร็จการอาชีวศึกษามีโอกาสในการศึกษาต่อด้านวิชาชีพจนถึงระดับปริญญา 

– วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 ได้มีการประกาศพระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ เล่ม 92 ตอนที่ 48 หน้า 1

– วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2527 วิทยาลัยฯ ได้รับการอนุเคราะห์จากกรมธนารักษ์ได้อนุเคราะห์จัดสรรที่ดินบริเวณคลองหก ฝั่งตะวันตก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โฉนดเลขที่ 706 เนื้อที่ 610-3-41 ไร่ และบริเวณคลองรังสิตฝั่งเหนืออำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี โฉนดเลขที่ 39 เนื้อที่ 109-3-04เพื่อก่อสร้างศูนย์กลางการศึกษาระดับปริญญา

– พ.ศ. 2528 เริ่มขยายการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีในวิทยาเขตต่างๆ

– วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาว่า “สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล” และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญ พระราชลัญจกรประจำพระองค์และพระมหาพิชัยมงกุฎเป็นเครื่องหมายราชการของสถาบันฯ

– วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2548 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย ในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลและประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนที่ 6ก วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 พระราชบัญญัติฉบับนี้ มีผลให้เกิดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ประกอบด้วย 5 วิทยาเขต
กระจายอยู่ทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ประกอบด้วย

เครื่องหมายประจำมหาวิทยาลัย

  • ภายในวงกลมเป็นรูปดอกบัวบาน 8 กลีบ ล้อมรอบดอกบัวบาน 8 กลีบหมายถึง ทางแห่งความสำเร็จมรรค 8 และความ สดชื่นเบิกบานก่อให้เกิดปัญญาแผ่ขจรไปทั่วสารทิศ
  • ภายใต้ดอกบัวเป็นดวงตราพระราชลัญจกรบรรจุอยู่ หมายถึง สัญลักษณ์และเครื่องหมายประจำองค์พระมหากษัตริย์ของรัชกาลที่ 9 ซึ่งพระองค์เป็นผู้พระราชทานนามว่า” มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล”
  • บนตรารูปวงกลม มีพระมหาพิชัยมงกุฎครอบ และมีเลข 9 อยู่ หมายถึง รัชกาลที่ 9
  • ด้านล่างของตราวงกลมทำพับกรอบโค้งรองรับ ชื่อ “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน” คั่นปิดหัวท้ายของกรอบด้วยลวดลายดอกไม้
  • พิมพ์ประจำยามทั้งสองข้าง หมายถึง ความเจริญ รุ่งเรือง แจ่มใส เบิกบาน
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล หมายความว่ามหาวิทยาลัยอันเป็นมงคลแห่งพระราช
  • ออกแบบเป็นรูปดอกแคแสดผสมผสานกับรูปตัวอักษร U (University) และเส้นสายจากแคน
  • ดอกแคแสดเป็นดอกไม้ประจามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • ดอกแคแสดมีกลีบดอก 5 กลีบ อันหมายถึง วิทยาเขตที่รวมสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว
  • ตัวอักษร U ซึ่งย่อมาจาก University นั้น ประกอบขึ้นจากเส้นสายทั้ง 5 เส้น ซึ่งได้มาจากลักษณะของแคนที่ประกอบด้วย 5 ลา เพื่อสื่อความเป็นมหาวิทยาลัยแห่งอีสาน และเส้นเหล่านี้มีทิศทางพุ่งขึ้นไปในทิศเดียวกัน เปรียบเสมือนการก้าวไปพร้อม ๆ กันทั้ง 5 วิทยาเขตเพื่อนาพา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานสู่ความสาเร็จร่วมกันทางการศึกษา

ดอกแคแสด

ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย 

ดอกประดู่

ดอกไม้ประจำวิทยาเขตขอนแก่น

ดอกทองกวาว

ดอกไม้ประจำวิทยาเขตสกลนคร

ดอกชัยพฤกษ์แดง

ดอกไม้ประจำวิทยาเขตสุรินทร์

แต่เดิม สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ได้กำหนดให้สีเหลืองและสีน้ำเงินเป็นสีประจำสถาบัน

สืบเนื่องจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลมีการปรับโครงสร้างตาม พรบ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลอีสาน จึงได้กำหนดสีประจำมหาวิทยาลัยดังนี้

สีแสด
CMYK : C=0 M=74 Y=100 K=0
RGB  : R=254 G=103 B=0

สีประจำมหาวิทยาลัย

สีน้ำเงิน *
CMYK : C=100 M=97 Y=31 K=39
RGB  : R=9 G=20 B=82

สีประจำวิทยาเขตขอนแก่น

สีชมพู *
CMYK : C=0 M=0 Y=0 K=0
RGB  : R=0 G=0 B=0

สีประจำวิทยาเขตสกลนคร

สีขาว
CMYK : C=0 M=0 Y=0 K=0
RGB  : R=255 G=255 B=255

สีประจำวิทยาเขตสุรินทร์

สีเขียวเข้ม
CMYK : C=90 M=30 Y=95 K=30
RGB  : R=0 G=104 B=56

สีประจำโครงการจัดตั้ง วิทยาเขตร้อยเอ็ด ณ ทุ่งกุลาร้องไห้

ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ

ปรัชญา (Philosophy)

คุณธรรมนำหน้า ปัญญานำทาง สรรค์สร้างนวัตกรรม

ปณิธาน (Determination)

สร้างคนสู่งาน เชี่ยวชาญเทคโนโลยี

วิสัยทัศน์ (Vision)

ผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างยั่งยื

พันธกิจ (Mission)

  1. เพื่อสร้างกำลังคนที่มีความรู้และสมรรถนะในแต่ละสาขาที่เป็นนักปฏิบัติ (Hands-on) พร้อมทักษะ Innovationship & Entrepreneurship และทักษะที่จำเป็นในอนาคต
  2. สร้างสรรค์งานวิจัย นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology) สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในภาคส่วนต่างๆ และสร้างผลกระทบต่อสังคมได้
  3. ให้บริการวิชาการ เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนภายใต้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ และ ภาคเอกชน
  4. ส่งเสริมต่อยอดศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทุนวัฒนธรรม เพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์

ค่านิยมหลัก   RUIs  “ลุย”

RResilienceพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
UUnityการทำงานเป็นทีมหนึ่งเดียว โดยมีเป้าหมายองค์กรเป็นที่ตั้ง
IInnovation Focusมุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรม
sSocial Responsibilityมีความรับผิดชอบต่อสังคม

วัฒนธรรมองค์กร

“เราทำเพื่อสังคม”

เอกลักษณ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
“มหาวิทยาลัยแห่งเทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรม”

อัตลักษณ์บัณฑิตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
“บัณฑิตนักปฏิบัติที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรม”

คุณลักษณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
(
Student Characteristics)

  1. Creative Thinking and Problem Solving Skill ทักษะการคิดสร้างสรรค์และการแก้ปัญหา
  2. Communication and Social Skill  ทักษะการสื่อสารและการเข้าสังคม
  3. Integrated Entrepreneurship Skill ทักษะการเป็นผู้ประกอบการเชิงบูรณาการ
  4. Innovative Technology Skill ทักษะเทคโนโลยีนวัตกรรม
  5. Social and Community Engagement Skill ทักษะการมีส่วนร่วมทางสังคมและชุมชน

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ (Graduates desired)
ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา

  1. มีวินัย ซื่อสัตย์ และรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว วิชาชีพ สังคม และประเทศชาติ
  2. มีความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
  3. มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และริเริ่มสร้างสรรค์ โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ ของตนในการแก้ไขปัญหาการทำงานได้
  4. มีความสามารถในการปรับตัว การทำงานเป็นทีม มีภาวะผู้นำ มีการวางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
  5. มีความสามารถในการใช้ภาษา และทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข ตลอดจนสามารถใช้ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และสารสนเทศในการสื่อสาร เพื่อการศึกษา และการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้

ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ และนโยบาย

ประเด็นยุทธศาสตร์ และ เป้าประสงค์

ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 1 : พลิกโฉมการสอนสมัยใหม่ เพื่อสร้างนักปฏิบัติทักษะสูง นวัตกรและผู้ประกอบการ

  • เป้าประสงค์ 1.1 คุณลักษณะบัณฑิตของมหาวิทยาลัยที่เป็นนักปฏิบัติทักษะสูง นวัตกร และมีทักษะการเป็นผู้ประกอบการ
  • เป้าประสงค์ 1.2 นวัตกรรมการศึกษาที่สร้างบัณฑิตตามคุณลักษณะบัณฑิตของมหาวิทยาลัย สร้างนวัตกร และ ผู้ประกอบการ
  • เป้าประสงค์ 1.3 ระบบ กลไก และ กระบวนการที่ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างนวัตกร และ ผู้ประกอบการ
  • เป้าประสงค์ 1.4 ทรัพยากรที่สนับสนุนการสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติทักษะสูง และสนับสนุนการสร้างนวัตกร และ ผู้ประกอบการ

ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 2 : ยกระดับการทำงานวิจัย สร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์

  • เป้าประสงค์ 2.1 งานวิจัย งานสร้างสรรค์ นวัตกรรม ที่มีคุณภาพ มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และได้รับการยอมรับในระดับ นานาชาติ
  • เป้าประสงค์ 2.2 งานวิจัย งานสร้างสรรค์ นวัตกรรม มีศักยภาพสามารถตอบโจทย์การพัฒนา 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย
  • เป้าประสงค์ 2.3 ระบบ กลไก และ กระบวนการ ที่ส่งเสริมและสนับสนุน งานวิจัย งานสร้างสรรค์  นวัตกรรม
  • เป้าประสงค์ 2.4 ทรัพยากรที่สนับสนุนการสร้างสรรค์งานวิจัย งานสร้างสรรค์ นวัตกรรม และพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 3 : บูรณาการความร่วมมือกับพหุภาคี ทั้งในประเทศและต่างประเทศ 

  • เป้าประสงค์ 3.1 ความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศในการปฏิรูประบบการจัดการศึกษา และบริหารจัดการ
  • เป้าประสงค์ 3.2 คู่ความร่วมมือมีความเชื่อมั่น และไว้วางใจในการบริหารงานด้านวิชาการและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย
  • เป้าประสงค์ 3.3 ระบบ กลไก และ กระบวนการ ที่ส่งเสริมและสนับสนุน การสร้างความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศ
  • เป้าประสงค์ 3.4 บุคลากรมีความรู้ความสามารถและได้รับการสนับสนุนในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศ

ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 4 : เปลี่ยนผ่านระบบการบริหารองค์กรสู่ยุคดิจิทัล และเชื่อมโยงสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

  • เป้าประสงค์ 4.1 การพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ/การบริหารจัดการงบประมาณ และทรัพย์สินให้ เกิดประโยชน์สูงสุด
  • เป้าประสงค์ 4.2 ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความเชื่อมั่นและความพึงพอใจต่อระบบ คุณภาพการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัย
  • เป้าประสงค์ 4.3 ระบบ กลไก และ กระบวนการ ที่ส่งเสริม และสนับสนุนการปฏิรูปการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
  • เป้าประสงค์ 4.4 ทรัพยากรมนุษย์และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการพัฒนาเพื่อปฏิรูปองค์กรสู่ยุคดิจิทัล และขับเคลื่อนคลัสเตอร์ของมหาวิทยาลัย

นโยบาย (Policy)
R I D I N G Q A

  1. สร้างความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง (Relevance) นโยบาย (Policy)
  2. สร้างความผูกพัน (รัก เชื่อมั่น ศรัทธา) ต่อองค์กร (Involvement)
  3. สร้างความมุ่งมั่น ทุ่มเท เสียสละให้กับองค์กร (Dedication)
  4. สร้างจิตสำนึกในการเป็นผู้ประกอบการ (Income Oriented)
  5. ส่งเสริม สนับสนุน การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ (Networking)
  6. จัดระบบบริหารจัดการโดยใช้หลักธรรมาภิบาล (Good Governance)
  7. พัฒนาคุณภาพทุกด้าน (Quality)
  8. ยึดมั่นในการพัฒนาภาวะผู้นำทุกระดับ (Accumulated Leadership)
Post Views: 7,317