วันที่ 10 มกราคม 2566 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน โดย รองศาสตราจารย์ ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดี มทร.อีสาน และคณะผู้บริหาร จัดประชุมวางแผนการปลูกข้าวลดมีเทน ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ตามแผนงานการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่ จะพัฒนาพื้นที่เฉพาะที่มีความแตกต่าง ที่โดเด่นด้วยศักยภาพเดิม (ข้าว GI) โดยเพิ่มเติมศักยภาพใหม่เข้าไปด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ของ มทร.อีสาน และภาคีเครือข่าย เพื่อสร้างผลผลิตข้าวมูลค่าสูงที่มีการปลดปล่อยก๊าซมีเทนต่ำ (ข้าว premium ข้าวลดโลกร้อน ข้าว BCG) โดยมีแผนเร่งด่วน และแผนระยะยาว เช่น การจัดทำแปลงสาธิตการผลิตข้าวมีเทนต่ำในรูปแบบระบบน้ำหยด ระบบเปียกสลับแห้ง ระบบการใช้จุลินทรีย์ ฯลฯ ประมาณ 20 แปลง พร้อมทดสอบขยายในพื้นที่จริงของ มทร.อีสาน กว่า 100 ไร่ และพร้อมขยายผลสู่เกษตรกรในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้กว่า 2.1 ล้านไร่ ในระยะยาว และนำองค์ความรู้ถ่ายทอด ในรูปแบบ Non-degree (Up/Re/New-skill) Degree และ Sandbox ตามลำดับ โดยคาดว่าจะมีผลต่อเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตของประชาชนในวงกว้าง และศักยภาพเพื่อการแข่งขันเชิงพื้นที่ที่แตกต่าง ให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
มทร.อีสาน วิทยาเขตร้อยเอ็ด ณ ทุ่งกุลาร้องไห้ / ภาพ – ข่าว