มทร.อีสาน ร่วมจัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรม ในการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) @โคราช

วันที่ 2 กรกฎาคม 2567 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน โดย รองศาสตราจารย์ ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดี มทร.อีสาน นำคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ มทร.อีสาน จัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรรม ในการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ระหว่างวันที่ 1 – 2 กรกฎาคม ณ บริเวณด้านหน้าหอประชุมราชภัฏรังสฤษฎ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยมีนายเศรษฐา สินทวี นายกรัฐมนตรี นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นายชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และคณะรัฐมนตรี เข้าเยี่ยมชมนิทรรศการ

สำหรับผลงานที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานนำไปจัดแสดง มีทั้งหมด 3 ผลงาน ได้แก่

ผลงานที่ 1) ตู้ควบคุมอัตโนมัติสำหรับเกษตรแปลงใหญ่ เจ้าของผลงาน ผศ.สุภาธิณี  กรสิงห์

ตู้ควบคุมอัตโนมัติสำหรับเกษตรแปลงใหญ่ เป็นการจัดการระบบน้ำในแปลงเกษตรด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี IoT สิ่งที่สำคัญคือการเรียนรู้บอร์ดควบคุมอุปกรณ์ IoT ควบคุมผ่านแอปพลิเคชันมือถือ ซึ่งเป็นนวัตกรรมพร้อมใช้ที่ทางนักวิจัยได้ออกแบบให้สั่งงานด้วยแอปพลิเคชันมือถือผ่านอินเตอร์เน็ต และสั่งงานด้วยสวิตซ์ที่หน้าตู้ควบคุมการเปิดปิดวาล์วน้ำจำนวน 3 ช่อง ควบคุมการทำงานด้วยแมกเนติกคอนแทคเตอร์ จำนวน 1 ช่อง มีช่องรองรับการต่อเซนเซอร์ 2 ช่อง มีระบบตั้งเวลาทำงานเปิด-ปิด อัตโนมัติ รองรับการเชื่อมต่อพลังงานจาก Solar cell มี Connector แบบสกรูสำหรับรับสัญญาณ Digital และ Analog และยังมี Pin Header สำหรับใช้งานขาพอร์ตอื่น ๆ ได้ตามต้องการใช้กับแหล่งจ่ายไฟ 5 – 24V สามารถใช้งานร่วมกับแอปพลิเคชัน Home assistant จากการปรับเทคโนโลยีและสำรวจคะแนนแสดงการยอมรับ App Tech ตู้ควบคุมอัตโนมัติจากการตอบแบบสอบถามของสมาชิก กลุ่มและคนจนเป้าหมายในห่วงโซ่การผลิตภายใต้กิจกรรมที่ใช้จริง อยู่ในเกณฑ์ดีมาก (3.69 0.54) ระบบใช้งานง่าย สะดวกต่อการทำงานของผู้สูงอายุ และการผลิตจำนวนมาก ให้ผลผลิตที่สม่ำเสมอ และประหยัดน้ำได้มากกว่าการใช้แรงงานคนรด

ผลงานที่ 2) เตาเผาเซรามิค เจ้าของผลงาน ผศ.เด่น รักซ้อน

เตาเผาเซรามิกรูปทรง 6 เหลี่ยม ขนาดความกว้างภายใน 60X60 เซนติเมตร (0.5 คิว) โครงสร้างจากโลหะ แข็งแรง กรุแผ่นกันความร้อนด้วยเซรามิกไฟเบอร์ โดยความสูงของเตาเผาสามารถถอดประกอบ ลดหรือเพิ่มชั้นให้สูงขึ้นได้อย่างสะดวกตามความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์ที่เผา เตาเผามีคุณภาพในการเผาที่ดี ด้วยเชื้อเพลิงจากแก๊ส LPG เผาได้อุณหภูมิสูง แผ่ความร้อนน้อย ดูแลรักษาและสามารถซ่อมแซมได้ง่าย น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายได้สะดวก วัสดุประกอบสามารถหาซื้อได้ง่ายภายในประเทศ

ผลงานที่ 3) การวิจัยและพัฒนาระบบบังคับเลี้ยวตามรางรถไฟสำหรับโบกี้รถบรรทุกสินค้าและศูนย์พัฒนากำลังคนและถ่ายทอดเทคโนโลยีเทคโนโลยีด้านระบบรางอากาศยานและการขนส่งเจ้า ของผลงาน คณะระบบรางและการขนส่ง มทร.อีสาน

คณะระบบรางและการขนส่ง มทร.อีสาน จะเป็นศูนย์กลางการซ่อมบำรุงและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการขนส่งระบบรางอากาศยานเพื่อรองรับการพัฒนาโลจิสติกส์และการขนส่งของประเทศ

ผลงานที่ 4) การวิจัยและพัฒนาชิ้นส่วนรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเพื่อรองรับการผลิตเชิงพาณิชย์ในประเทศไทย เจ้าของผลงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.อีสาน วข.ขอนแก่น

โครงการ “การวิจัยและพัฒนาชิ้นส่วนรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเพื่อรองรับการผลิต เชิงพาณิชยในประเทศไทย” นี้มุ่งเน้นที่จะผลิตชิ้นส่วนรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนโดยใช้ผู้ผลิตในประเทศไทยที่มีพื้นฐานและประสบการณ์ในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โดยลักษณะโครงสร้างของรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่ผลิตได้อ้างอิงจากมาตรฐานของรถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ประกอบด้วย 4 ตู้โดยสารสามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 1200 คน/เที่ยว โดยใช้กระแสไฟฟ้าจากระบบเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนและระบบจ่ายกระแสไฟฟ้าแบบรางที่ 3 (3rd Rail System)

ผลงานที่ 5) การวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบรถไฟฟ้ารางเบาโดยใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตภายในประเทศไทย: เพื่อต่อยอดไปสู่การผลิตในภาคอุตสาหกรรม เจ้าของผลงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.อีสาน วข.ขอนแก่น

การวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบรถไฟฟ้ารางเบาโดยใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตภายในประเทศไทยเพื่อต่อยอดไปสู่การผลิตในภาคอุตสาหกรรม นี้มุ่งเน้นที่จะผลิตชิ้นส่วนรถไฟฟ้ารางเบาโดยใช้ผู้ผลิตในประเทศไทย ที่มีพื้นฐานและประสบการณ์ในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โดยลักษณะโครงสร้างของรถไฟฟ้ารางเบานั้นเป็นแบบพื้นต่ำ ประกอบด้วย 3 ตู้โดยสาร สามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 120 คน/เที่ยว โดยใช้แบตเตอรี่ขนาด 346kWh และระบบสายป้อนเหนือศรีษะ

อมรเทพ ดอกสันเทียะ / ข่าว