วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2566 รองศาสตราจารย์ ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นำทีม รองอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ไฟฟ้าและทีมอาจารย์นักวิจัยสถาบันยานยนต์ไฟฟ้า มทร.อีสาน นครราชสีมา เปิดตัวศูนย์แปลงยานยนต์ไฟฟ้า (EV Conversion) และสถาบันรับรองมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับบริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) บริษัท เล็กสุวงษ์ ขนส่ง จำกัด และจังหวัดนครราชสีมา โดยได้รับการสนับสนุนจาก กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) และ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)ปีงบประมาณ 2565 #TSRI #สกสว #หน่วยบริหารจัดการทุนเพื่อการพัฒนาระดับพื้นที่ #NXPO #สอวช #PMUA #บพท เพื่อพัฒนา “ต้นแบบระบบนิเวศเมืองคาร์บอนต่ำที่น่าอยู่ กรณีศึกษาการพัฒนาระบบโครงข่ายขนส่งสาธารณะเมืองโคราช (A Model for Low Carbon & Livable City Urban Ecosystems : A Case Study of the Development of Public Transportation Network System in Korat City)” ภายใต้ Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ Program 15 พัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญโดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แผนงานการพัฒนาเมืองและกลไกการเติบโตใหม่ ประเด็นริเริ่มสำคัญ การพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำที่น่าอยู่ และมีเป้าหมาย พัฒนาและใช้ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเมืองศูนย์กลางในภูมิภาคและเชื่อมโยงความเจริญสู่ชนบท มี อาจารย์ ดร.สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ และทีมนักวิจัยจากสถาบันยานยนต์ไฟฟ้า มทร.อีสาน ร่วมกับคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะฯ สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา เป็นทีมดำเนินการหลัก
ต้นแบบรถ EV Conversion ข้างต้นนี้ได้ทดลองใช้จริงในภาคขนส่งมวลชน สาย 4131 บ้านโนนค่า – บ้านกุดจิก – บขส.เก่า นครราชสีมา รวมทั้งรับส่งนักศึกษาและบุคลากรจากศูนย์กลางนครราชสีมา-ศูนย์การศึกษาหนองระเวียง มทร.อีสาน ผลทดสอบจะนำไปสู่ผลลัพธ์เชิงบูรณาการหลายภาคส่วน อาทิ การลดทุนการให้บริการเดินรถขนส่งมวลชน การลดมลภาวะและคาร์บอนให้กับเมือง ตลอดจนการเรียนรู้ประยุกต์เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสมัยใหม่ของผู้ผลิตและผู้ประกอบการของไทย และการร่วมเรียนรู้และผลิตหลักสูตรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศน์ยานยนต์ไฟฟ้า เช่น หลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรโมดูล และหลักสูตร Sandbox ด้านยานยนต์ไฟฟ้า ของ มทร.อีสาน เพื่อเป็นกลจักรสำคัญในการสร้างกำลังแรงงานคุณภาพสูง สู่ความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ตามแผนยุทธศาสตร์ มทร.อีสาน และประเทศชาติ ให้เกิดการสร้างรายได้และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างสมดุลและยั่งยืนต่อไป รองศาสตราจารย์ ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน กล่าวในตอนท้าย
งานประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ / ข่าว