ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ

ประวัติมหาวิทยาลัย

ประวัติมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 เหตุผล โดยที่มาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 บัญญัติให้สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษา ระดับปริญญาเป็นนิติบุคคล เพื่อให้สถานศึกษาของรัฐดำเนินกิจการได้โดยอิสระสามารถพัฒนาระบบบริหาร และการจัดการที่เป็นของตนเอง มีความคล่องตัวมีเสรีภาพทางวิชาการและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภามหาวิทยาลัยฯ ดังนั้นสมควรจัดตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 9 แห่ง ขึ้นแทนสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เป็นหนึ่งในจำนวนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เน้นด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี ที่มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงที่มุ่งเน้นการปฏิบัติ ทำการสอน ทำการวิจัย ผลิตครูวิชาชีพ ให้บริการทางวิชาการในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยต่อยอดให้ผู้สำเร็จการอาชีวศึกษามีโอกาสในการศึกษาต่อด้านวิชาชีพจนถึงระดับปริญญา

– วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 ได้มีการประกาศพระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ เล่ม 92 ตอนที่ 48 หน้า 1

– วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2527 วิทยาลัยฯ ได้รับการอนุเคราะห์จากกรมธนารักษ์ได้อนุเคราะห์จัดสรรที่ดินบริเวณคลองหก ฝั่งตะวันตก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โฉนดเลขที่ 706 เนื้อที่ 610-3-41 ไร่ และบริเวณคลองรังสิตฝั่งเหนืออำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี โฉนดเลขที่ 39 เนื้อที่ 109-3-04เพื่อก่อสร้างศูนย์กลางการศึกษาระดับปริญญา

– พ.ศ. 2528 เริ่มขยายการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีในวิทยาเขตต่างๆ

– วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยูหั่วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาว่า “สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล” และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญ พระราชลัญจกรประจำพระองค์และพระมหาพิชัยมงกุฎเป็นเครื่องหมายราชการของสถาบันฯ

– วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2548 พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยูหั่วทรงลงพระปรมาภิไธย ในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลและประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนที่ 6ก วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 พระราชบัญญัติฉบับนี้ มีผลให้เกิดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ประกอบด้วย 5 วิทยาเขต กระจายอยูทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ประกอบด้วย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา ปัจจุบันเปิดสอน 4 คณะ ได้แก่

– คณะบริหารธุรกิจ
– คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์
– คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์
– คณะศิลปกรรมและออกแบบอุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ปัจจุบันเปิดสอน 2 คณะ ได้แก่

– คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
– คณะเทคโนโลยีการจัดการ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ปัจจุบันเปิดสอน 3 คณะ ได้แก่

– คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
– คณะวิศวกรรมศาสตร์
– คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ปัจจุบันเปิดสอน 2 คณะ ได้แก่

– คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
– คณะทรัพยากรธรรมชาติ

มทร.อีสาน วิทยาเขตร้อยเอ็ด ณ ทุ่งกุลาร้องไห้


เพิ่มเติ่ม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ และนโยบาย

ปรัชญา (Philosophy)

คุณธรรมนำหน้า ปัญญานำทาง สรรค์สร้างนวัตกรรม

ปณิธาน (Determination)

สร้างคนสู่งาน เชี่ยวชาญเทคโนโลยี

วิสัยทัศน์ (Vision)

มหาวิทยาลัยผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ ที่มีพลังนวัตกรรม เพื่อพัฒนาสังคม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

พันธกิจ (Mission)

  1. จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติบนพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการ
  2. สร้างงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม และการใช้นวัตกรรม  บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์
    และเทคโนโลยีสู่การผลิต การบริการ และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ประเทศ
  3. บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่สังคม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  4. ทำนุบำรุงศาสนา อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และรักษาสิ่งแวดล้อม
  5. สนองโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

ประเด็นยุทธศาสตร์ และ เป้าประสงค์

ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 1 : ผลิตและพัฒนาบัณฑิตนักปฏิบัติที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ
เป้าประสงค์ 1.1 คุณลักษณะบัณฑิตของมหาวิทยาลัยที่สามารถตอบสนอง 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ
เป้าประสงค์ 1.2 นวัตกรรมการศึกษาที่สร้างบัณฑิตตามคุณลักษณะบัณฑิตของมหาวิทยาลัย
เป้าประสงค์ 1.3 ระบบ กลไก และ กระบวนการที่ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมการศึกษา
เป้าประสงค์ 1.4 ทรัพยากรที่สนับสนุนการสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติ และสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมการศึกษา

ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 2 : สร้างความเข้มแข็งของงานวิจัย พัฒนา และการต่อยอดสู่นวัตกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าประสงค์ 2.1 งานวิจัย งานสร้างสรรค์ นวัตกรรม ที่มีคุณภาพ มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และได้รับการยอมรับในระดับ นานาชาติ
เป้าประสงค์ 2.2 งานวิจัย งานสร้างสรรค์ นวัตกรรม มีศักยภาพสามารถตอบโจทย์การพัฒนา10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย
เป้าประสงค์ 2.3 ระบบ กลไก และ กระบวนการ ที่ส่งเสริมและสนับสนุน งานวิจัย งานสร้างสรรค์ นวัตกรรม
เป้าประสงค์ 2.4 ทรัพยากรที่สนับสนุนการสร้างสรรค์งานวิจัย งานสร้างสรรค์ นวัตกรรม และพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 3 : เสริมสร้างชุมชนนวัตกรรม (Communities of Innovation) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของชุมชนในพื้นที่
เป้าประสงค์ 3.1 ชุมชนต้นแบบในด้านการสร้างหรือการใช้นวัตกรรม/บริการวิชาการด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและ นวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน
เป้าประสงค์ 3.2 ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการบริการวิชาการและการถ่ายทอดนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย
เป้าประสงค์ 3.3 ระบบ กลไก และ กระบวนการ ที่ส่งเสริมและสนับสนุน การนำนวัตกรรมสู่ชุมชน สังคม นานาชาติ
เป้าประสงค์ 3.4 บุคลากรสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรม สู่ชุมชน สังคม นานาชาติ

ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ 4 : ปฏิรูประบบบริหารจัดการมหาวิทยาลัยไปสู่ความเป็นเลิศในยุคดิจิทัล
เป้าประสงค์ 4.1 การพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ/การบริหารจัดการงบประมาณและ ทรัพย์สินให้ เกิดประโยชน์สูงสุด
เป้าประสงค์ 4.2 ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความเชื่อมั่นและความพึงพอใจต่อระบบ คุณภาพการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัย
เป้าประสงค์ 4.3 ระบบ กลไก และ กระบวนการ ที่ส่งเสริม และสนับสนุนการปฏิรูปการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
เป้าประสงค์ 4.4 ทรัพยากรมนุษย์และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการพัฒนาเพื่อปฏิรูปองค์กรสู่ยุคดิจิทัล และขับเคลื่อนคลัสเตอร์ของมหาวิทยาลัย

นโยบาย (Policy)

R I D I N G Q A

  1. สร้างความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง (Relevance) นโยบาย (Policy)
  2. สร้างความผูกพัน (รัก เชื่อมั่น ศรัทธา) ต่อองค์กร (Involvement)
  3. สร้างความมุ่งมั่น ทุ่มเท เสียสละให้กับองค์กร (Dedication)
  4. สร้างจิตสำนึกในการเป็นผู้ประกอบการ (Income Oriented)
  5. ส่งเสริม สนับสนุน การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ (Networking)
  6. จัดระบบบริหารจัดการโดยใช้หลักธรรมาภิบาล (Good Governance)
  7. พัฒนาคุณภาพทุกด้าน (Quality)
  8. ยึดมั่นในการพัฒนาภาวะผู้นำทุกระดับ (Accumulated Leadership)

อัตลักษณ์บัณฑิตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (Graduates Identity)
“บัณฑิตนักปฏิบัติที่มีความรับผิดชอบ”

อัตลักษณ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (RMUTI Identity)
“มหาวิทยาลัยที่ผลิตบัณฑิตที่มีทักษะพร้อมปฏิบัติงาน”

เอกลักษณ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (RMUTI Uniqueness)
“มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งการสร้างอาชีพเฉพาะทาง”

ค่านิยม (Value)
RMUTI = Rajamangala University of Technology Isan

R = Reputation = มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในการผลิตนักปฏิบัติ
M = Morality = มหาวิทยาลัยที่มีคุณธรรมและจริยธรรม มีความซื่อสัตย์
สุจริต คำนึงถึงประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ
U = Unity= มหาวิทยาลัยที่มีความสามัคคี กลมเกลียว เป็นหนึ่งเดียว
T = Technology = มหาวิทยาลัยที่มีเทคโนโลยีและการใช้นวัตกรรมชั้นนำ
I = Innovation = มหาวิทยาลัยที่ขับเคลื่อนด้วยพลังแห่งนวัตกรรม

คุณลักษณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (Student Characteristics)

Technology Literacy = มีความรู้ทางเทคโนโลยี
Effective Communication = มีทักษะการติดต่อสื่อสาร
Collaboration = มีความร่วมมือส่วนรวม
Ethics and Morality = มีคุณธรรม และ จริยธรรม
Corporate Social Responsibility = มีความรับผิดชอบ
Professional Skill = มีทักษะวิชาชีพ

ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ สำนักงานอธิการบดี
หมายเลขภายใน 2001

Message us
English EN Thai TH

เรียน นักศึกษา บุคลากร และผู้ใช้งานทุกท่าน

ตามที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานได้ดำเนินการปรับปรุงระบบเว็บไซต์เวอร์ชันใหม่
ขอความร่วมมือผู้ใช้งานทุกท่านใช้งานเว็บไซต์ใหม่ได้ที่

www.rmuti.ac.th