วันที่ 19 มิถุนายน 2567 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นำโดย นายอำมาตย์ คุณสวัสดิ์ ที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอนก เจริญภักดี รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์ นโยบายและแผน, อาจารย์สุบรรณ์ ทุมมาผู้ ช่วยอธิการบดี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญญาพร ดวงสา, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิชัย สาวิสิทธิ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรทิพย์ รอดพ้น, พันเอกกิติศักดิ์ ถาวร, อาจารย์ ดร.เสกสรรค์ สุทธิสงค์ พร้อมด้วยประธานเครือข่ายโคกหนองนาอำเภอสุวรรณภูมิ, เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติร้อยเอ็ด, ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาสุวรรณภูมิ ได้ประชุมหารือ การขับเคลื่อนยางนาและไม้ป่ามีค่า เฉลิมพระเกียรติฯ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตร้อยเอ็ด ณ ทุ่งกุลาร้องไห้ (ศูนย์เบญจคาม) ตำบลหินกอง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อหาแนวทาง “สร้างรมณียสถานฝากไว้ในแผ่นดิน” และ“การเพาะกล้ายางนาและเทคนิคการสร้างมูลค่า”
และวันที่ 20 มิถุนายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นายอำมาตย์ คุณสวัสดิ์ ที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอนก เจริญภักดี รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์ นโยบาย และแผน, อาจารย์สุบรรณ์ ทุมมา ผู้ช่วยอธิการบดี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญญาพร ดวงสา, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิชัย สาวิสิทธิ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรทิพย์ รอดพ้น, พันเอกกิติศักดิ์ ถาวร, อาจารย์ ดร.เสกสรรค์ สุทธิสงค์ พร้อมด้วยประธานเครือข่ายโคกหนองนาอำเภอสุวรรณภูมิ เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติร้อยเอ็ด, ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาสุวรรณภูมิ ได้ประชุมหารือการขับเคลื่อนยางนาและไม้ป่ามีค่า เฉลิมพระเกียรติฯ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตร้อยเอ็ด ณ ทุ่งกุลาร้องไห้ (ศูนย์เบญจคาม) ตำบลหินกอง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อหาแนวทาง “การสร้างมูลค่าจากป่าด้วยคาร์บอนเครดิต” และ “การปลูกป่ายางนาและไม้ป่ามีค่าตามคันนาทองคำ” รวมถึงได้ปลูกยางนาในพื้นที่ศูนย์เบญจคาม เพื่อเป็นการเริ่มต้น
การขับเคลื่อนยางนาและไม้มีค่า เฉลิมพระเกียรติฯ
นางสาวลักขณา เต้งสกุล / ข่าว
อมรเทพ ดอกสันเทียะ / เรียบเรียง
บารมี โกนบาง / ภาพ