มทร.อีสาน จัดใหญ่ “บุญเดือนห้า มหาสงกรานต์ มทร.อีสาน บ้านเฮา” ประจำปี 2567 เฉลิมฉลองปีใหม่ไทย บรรยากาศสุดคึกคัก ชุ่มฉ่ำไปด้วยความสุข

วันที่ 10 เมษายน 2567 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน โดย กองพัฒนานักศึกษา นำบุคลากรและนักศึกษาร่วมกันจัดโครงการวันสงกรานต์สืบสานประเพณีไทย ประจำปี 2567 “บุญเดือนห้า มหาสงกรานต์ มทร.อีสาน บ้านเฮา” ณ หอประชุมวทัญญู ณ ถลาง มทร.อีสาน นครราชสีมา ซึ่งกิจกรรมภายในงาน มีพิธีทำบุญตักบาตร (อาหารแห้ง) พระภิกษุสงฆ์ จำนวน 9 รูป และมีการจัดบวนแห่พระประจำวันเกิดจากทุก ๆ หน่วยงานขอองมทร.อีสาน โดยมีการเริ่มขบวนแห่พระพุทธรูปประจำวันเกิดที่ลานมรกต ลากนั้นค่อย ๆ เคลื่อนขบวนตามเส้นทางภายในมหาวิทยาลัยมายังหอประชุมวทัญญู ณ ถลาง ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.โฆษิต  ศรีภูธร อธิการบดี มทร.อีสาน เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และกล่าวอวยพรบุคลากร นักศึกษา มทร.อีสาน เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ และมอบรางวัลการประกวดขบวนแห่พระพุทธรูปประจำวันเกิด

สำหรับโครงการวันสงกรานต์สืบสานประเพณีไทย ประจำปี 2567 “บุญเดือนห้า มหาสงกรานต์ มทร.อีสาน บ้านเฮา” มีการจัดขบวนแห่ จำนวน 9 ขบวน ได้แก่

ขบวนที่ 1 ขบวนพระพุทธรูปประจำเมืองนครราชสีมา “พระชัยเมืองนครราชสีมา” และพระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย “พระพุทธนพรัตน์สีมามงคลพิสุทธิ์” โดยมี ผู้บริหาร อาจารย์อาวุโส องค์การนักศึกษา สภานักศึกษาร่วมในขบวน

ขบวนที่ 2 พระประจำวันอาทิตย์ โดย คณะระบบรางและการขนส่ง, สถาบันสหสรรพศาสตร์, ศูนย์การศึกษาหนองระเวียง

ขบวนที่ 3 พระประจำวันจันทร์ โดย สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน, สถาบันวิจัยและพัฒนา, สำนักศึกษาทั่วไป, สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ,  สถาบันบริการวิชาการแห่ง มทร.อีสาน,  สถาบันชุณหวัณฯ

ขบวนที่ 4 พระประจำวันอังคาร โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี

ขบวนที่ 5 พระประจำวันพุธ กลางวัน โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมสร้างสรรค์

ขบวนที่ 6 พระประจำวันพุธ กลางคืน โดย คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์

ขบวนที่ 7 พระประจำวันพฤหัสบดี โดย คณะบริหารธุรกิจ

ขบวนที่ 8 พระประจำวันศุกร์ โดย คณะนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร, ศูนย์อนุรักษ์และพัฒนา ฯ

ขบวนที่ 9 พระประจำวันเสาร์ โดย สำนักงานอธิการบดี ทั้ง 5 กอง หน่วยตรวจสอบภายใน สำนักงานบริหารสินทรัพย์ สำนักงานกิจการสภาของมหาวิทยาลัย

สำหรับขบวนแห่พระประจำวันเกิดที่จัดทำโดยทุก ๆ หน่วยงานของมทร.อีสาน ต่างก็มีความสวยงามและสร้างไม่แพ้กัน ซึ่งหลังจากที่ได้มีแห่ขบวนเพื่ออวดความสวยงามให้ผู้คนที่ผ่านไปผ่านมา รวมถึงท่านคณะกรรมได้เห็นแล้วนั้น ผลการตัดสินการประกวดขบวนแห่พระประจำวันเกิดจึงมีดังนี้

รางวัลชนะเลิศ ได้แก่
ขบวนที่ 6 พระประจำวันพุธ กลางคืน โดย คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่
ขบวนที่ 5 พระประจำวันพุธ กลางวัน โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมสร้างสรรค์

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่
ขบวนที่ 7 พระประจำวันพฤหัสบดี โดย คณะบริหารธุรกิจ

รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่ 
ขบวนที่ 3 พระประจำวันจันทร์ โดย สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน, สถาบันวิจัยและพัฒนา, สำนักศึกษาทั่วไป, สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ,  สถาบันบริการวิชาการแห่ง มทร.อีสาน,  สถาบันชุณหวัณฯ
ขบวนที่ 4 พระประจำวันอังคาร โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี

นอกจากนี้ภายในงานยังพิธีสรงน้ำพระพุทธรูป พระชัยเมืองนครราชสีมา พระพุทธนพรัตน์สีมามงคลพิสุทธิ์ และพระประจำวันเกิด พิธีรดน้ำสมมาผู้อาวุธโส ผู้บริหาร อาจารย์อาวุโส ผู้มีพระคุณต่อ มทร.อีสาน และมีการแสดงจากกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และการแสดงจากนักศึกษาชมรมพื้นถิ่นอีสานและวงดนตรีลูกทุ่ง “เทคโนตะโกราย” ที่เพิ่งได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ถ้วยพระราชทาน จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในกิจกรรม 9 ราชมงคลร่วมใจ สืบสานวัฒนธรรมไทย ครั้งที่ 14 ที่ได้มีการแข่งขันในวันที่ 6 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ บุคลากรและนักศึกษาได้แต่งกายชุดด้วยชุดพื้นถิ่นอีสานอย่างสวยงาม บรรยากาศเป็นไปด้วยความคึกคักสนุกสนาน ชุ่มฉ่ำไปด้วยความรัก ความสุขและความอบอุ่น ตลอดทั้งงาน

อมรเทพ ดอกสันเทียะ / ข่าว
ไพฑูรย์ เคนท้าว , บารมี โกนบาง / ภาพ