มทร.อีสาน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการวิจัยการศึกษาและพัฒนาการจัดตั้งเครือข่ายธุรกิจชุมชนร่วม(SIE)ฯ กรณีศึกษาพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมพูดคุยกับเครือข่าย SIE & Cluster และยางนา

วันที่ 10 สิงหาคม 2567 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน โดย รองศาสตราจารย์ ดร.โฆษิต  ศรีภูธร อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต  กฤตาคม รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย พัฒนานวัตกรรม และบริการวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอนก  เจริญภักดี รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์ นโยบายและแผน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญญาพร ดวงสา ผู้อำนวยการสถาบันชุณหะวันเพื่อการพัฒนาธุรกิจเอสเอ็มอีอย่างยั่งยืน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิชัย สาวิสิทธิ์ อาจารย์และนักวิจัย มทร.อีสาน ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าและร่วมแลกเปลี่ยนหารือการดําเนินงานโครงการวิจัย เรื่อง การศึกษาและพัฒนาการจัดตั้งเครือข่ายธุรกิจชุมชนร่วม (SIE) ของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจน และยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเชิงพื้นที่ : กรณีศึกษา พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดร้อยเอ็ด” โครงการ Cluster มะระขี้นก, หม่อนไหม และโครงการ SE-ปลูกยางนา ยูคาลิตัส ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน โครงการจัดตั้งวิทยาร้อยเอ็ด ณ ทุ่งกุลาร้องไห้ (ศูนย์เบญจคาม) ตําบลหินกอง อําเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด  นอกจากนี้ คณะผู้บริหารยังได้ลงพื้นที่ชุมชน พูดคุยกับเครือข่าย SIE & Cluster และยางนา จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ แห่งที่ 1 สวนป้านิ่ม ตําบลหินกอง อําเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด แห่งที่ 2 ณ วสก. บ้านเหม้า ตําบลสระคู อําเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด และแห่งที่ 3 สวนพันเอก ถนอม วงศ์พิมล ตําบลขอนแก่น อําเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด

ทั้งนี้ โครงการ ดังกล่าวได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สํานักสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ประจําปีงบประมาณ 2567 เรื่อง “การศึกษาและพัฒนาการจัดตั้งเครือข่ายธุรกิจชุมชนร่วม (SIE) ของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจน และยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเชิงพื้นที่ : กรณีศึกษา พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดร้อยเอ็ด” โดยได้รับงบประมาณ จำนวน 8,500,000 บาท โดยมีระยะเวลาดําเนินการ 18 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2568  ซึ่งผลตอบรับโครงการดีมาก ชุมชนและประชาชนในพื้นที่ต่างให้การตอบรับอย่างดี

วราภรณ์ นามบุตร / ข่าว

บารมี โกนบาง / ภาพ