วันที่ 16 พฤศจิกายน 2566 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน โดย รองศาสตราจารย์ ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดี มทร.อีสาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิชาต ติรประเสริฐสิน รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีดิจิทัล สารสนเทศ และกิจการสภามหาวิทยาลัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลานุช คงคา ผู้ช่วยอธิการบดี อาจารย์ ดร.อนิรุธ พิพัฒน์ประภา คณบดีคณะบริหารธุรกิจ รองศาสตราจารย์ ดร.นิคม บุญญานุสิทธิ์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมสร้างสรรค์ นางสาวจุฬาลักษณ์ พลเสนา ผู้อำนวยการสถาบันบริการวิชาการแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน รองศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ระวี ระวีกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ดร.ศิริลักษณ์ จันทร์สว่าง ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี ให้การต้อนรับ นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา และนางอรจิรา ศิริมงคล นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา DR.BRIGITTE FLAMAND Administrator of the state in the field of design, fashion, and craft (French government) อดีตฝ่ายบริหารของรัฐ (เทียบเท่าตำแหน่งระดับปลัดกระทรวง) ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ แฟชั่น และงานฝีมือ จากประเทศฝรั่งเศส รองศาสตราจารย์ ดร.อุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ อธิการบดี มทร.รัตนโกสินทร์ พร้อมคณะ ในการประชุมงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้างเพื่อต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ ณ หอศิลป์ตะโกราย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เพื่อมุ่งเน้นการยกระดับงานวิชาการ วิจัย และบริการวิชาการสู่เชิงพาณิชย์ และยกระดับ Soft Power ผ้าไหมอีสานสู่สากล ให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ โดยการประชุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
จากนั้นในเวลา 13.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดี มทร.อีสาน พร้อมคณะผู้บริหาร ได้นำ DR.BRIGITTE FLAMAND Administrator of the state in the field of design, fashion, and craft (French government) รองศาสตราจารย์ ดร.อุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ อธิการบดี มทร.รัตนโกสินทร์ พร้อมคณะ ลงพื้นที่เยี่ยมชม ร้าน Detail of Love (ชุมชนเครือข่ายทางวัดธรรมหนองไผ่ล้อม) อ.เมือง จ.นครราชสีมา และ ลงพื้นที่เยี่ยมชมการผลิตและเทคโนโลยีผ้าไหมปักธงชัย ร้านฅญา บาติก และศูนย์ไหมนครชัยบุรินทร์ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาการผลิต ช่วยยกระดับ Soft Power ผ้าไหมอีสาน ซึ่งในพื้นที่ภาคอีสานเป็นแหล่งผลิตผ้าไหมจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย รวมถึงการออกแบบตกแต่งภายใน และงานศิลปะแขนงต่าง ๆ ของวัฒนธรรมอีสานสู่ระดับสากล ซึ่งหากได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ผลิตภัณฑ์และวัฒนธรรมเหล่านี้ จะสามารถสร้างรายได้ ต่อลมหายใจให้กับประชาชนชาวอีสาน ทั้งยังจะเป็นการปลูกฝังให้คนรุ่นใหม่ได้รัก หวงแหน และให้ความสำคัญกับรากวัฒนธรรม ที่สามารถสร้างรายได้ เลี้ยงชีวิตแบบบูรณาการ ได้จริงต่อไปในอนาคต
อมรเทพ ดอกสันเทียะ / ข่าว
วราภรณ์ นามบุตร / เรียบเรียง
ไพฑูรย์ เคนท้าว,บารมี โกนบาง / ภาพ