วันที่ 29 สิงหาคม 2567 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน โดย รองศาสตราจารย์ ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดี มทร.อีสาน พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต กฤตาคม รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย พัฒนานวัตกรรม และบริการวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญญาพร ดวงสา ผู้อำนวยการสถาบันชุณหะวัณเพื่อการพัฒนาธุรกิจเอสเอ็มอีอย่างยั่งยืน อาจารย์ ดร.อนิวรรต หาสุข ผู้ช่วยอธิการบดี อาจารย์สุบรรณ ทุมมา ผู้ช่วยอธิการบดีโครงการจัดตั้งวิทยาเขตร้อยเอ็ด และนายประนิทัศ ภูขีด เข้าร่วมการประชุมเพื่อพิจารณารายงานการวิจัยเบื้องต้น (Inception Report) ระยะ 3 เดือน กรอบการวิจัย “การพัฒนาและสร้างเครือข่ายธุรกิจชุมชนร่วม (Social Intergraded Enterprise,SIE) เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่” ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการพิจารณาติดตาม และประเมินผลฯ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 ท่าน ได้แก่ 1.) คุณวนัส แต้ไพสิฐพงษ์ คณะกรรมการบริหาร หน่วย บพท. 2.) ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ หน่วย บพท. 3.) ดร.สิริพร พิทยโสภณ นักยุทธศาสตร์ระดับสูง รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) 4.) รศ.ดร.บัณฑิต อินณวงศ์ ผู้อำนวยการกรอบการวิจัย Local Enterprises 5.) ดร.ปรเมษฐ์ ชุ่มยิ้ม ที่ปรึกษาอาวุโส เมืองนวัตกรรมอาหาร สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 6.)นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) 7.) รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วย บพท. อนุกรรมการ 8.) ดร.อโศก พลบำรุง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ (ฝ่าย 1) และน.ส.ดารารัตน์ โพธิ์รักษา รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการสร้างเศรษฐกิจฐานรากและความเข้มแข็งของชุมชน(ฝ่าย 2) ณ ห้องประชุมค็อกพิท โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต ถนนเชิดวุฒากาศ ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดี มทร.อีสาน ในฐานะหัวหน้าโครงการ ได้รายงานผลการวิจัยเบื้องต้น (Inception Report) ระยะ 3 เดือน โครงการศึกษาและพัฒนาการจัดตั้งเครือข่ายธุรกิจชุมชนร่วม (SIE) ของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลือนการแก้ไขปัญหาความยากจน และยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเชิงพื้นที่ : กรณีศึกษาพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งมีวัถุประสงค์หลักในการพัฒนากล ไก Social Integrated Enterprise (SIE) ที่สามารถสร้างผลกระทบ (Big Impact) เชิงเศรษฐกิจฐานรากสูง เพื่อนําเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเพิ่มสมรรถนะ พัฒนาศักยภาพและยกระดับขีดความสามารถในการจัดการธุรกิจ SIE เพื่อพัฒนานักจัดการเครือข่ายธุรกิจ (Supply Chain Manager) ให้เป็นกลไกสร้างความเปลี่ยนแปลงที่สําคัญในการสร้างเครือข่ายธุรกิจ ชุมชนร่วม ให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจในพื้นที่ และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงการทําธุรกิจอย่างแท้จริง ผ่านการทดลอง ฝึกปฏิบัติ เชื่อมโยงให้เกิดมูลค่าเพิ่มตลอดกระบวนการห่วงโซ่อุปทาน ต้นนํ้า กลางนํ้า ปลายนํ้า โดย มทร.อีสาน ได้ตั้งเป้าหมายผลผลิตของโครงการ จำนวน 6 ข้อ เพียงระยะเวลา 3 เดือน มทร.อีสาน สามารถบรรลุเป้าหมายได้ถึง 4 ข้อ ซึ่งอีก 2 ข้อ เป็นเป้าหมายที่จะเร่งดำเนินการในระยะต่อไป
วราภรณ์ นามบุตร / ข่าว
สำนักงานอธิการบดี มทร.อีสาน / ภาพ