มทร.อีสาน โดย สถาบันชุณหะวัณฯ หนุนนักศึกษาเข้าแข่งขัน Startup Thailand League ระดับภูมิภาค

วันที่ 4 มิถุนายน 2565  มทร.อีสาน โดย ฝ่ายเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันชุณหะวัณเพื่อการพัฒนาธุรกิจเอสเอ็มอีอย่างยั่งยืน นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุทัศน์ ยอดเพชร และทีมที่ปรึกษาด้านนวัตกรรม ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิทยา ศรีกุล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาธิณี กรสิงห์ พร้อมด้วยนักศึกษาผู้ประกอบการ Startup ได้เข้าร่วมโครงการ Startup Thailand League  2022  ในกิจกรรม Regional Pitching ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งจัดโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) โดยในการแข่งขันครั้งนี้ ทางสถาบันชุณหะวัณฯ มทร.อีสาน ได้คัดเลือกทีมนักศึกษาที่มีศักยภาพในการต่อยอดในเชิงพาณิชย์ เข้าร่วมนำเสนอผลงานนวัตกรรมและแผนธุรกิจ จำนวน 5 ทีม เข้าไปแข่งขันในระดับภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจากการแข่งขันที่ผ่านมา แม้ว่าในระดับภูมิภาคนี้จะยังไม่มีทีมใดได้ไปต่อไป แต่นักศึกษาทุกคนที่เข้าร่วมนั้นได้รับความรู้ในการสร้างผลงานนวัตกรรมสู่การต่อยอดในเชิงพาณิชย์อย่างแน่นอน และนอกจากนี้ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เข้าไปแข่งขันต่อในระดับประเทศ แต่ยังคงมีสิทธิ์ได้ลุ้นในการเข้าไปแสดงผลงานให้กับผู้ประกอบการทั่วโลกได้ชมด้วย

โดยทีมนักศึกษาทั้ง 5 ทีม ที่เข้าร่วมการแข่งขัน มีดังนี้

1. ทีม Black cat ผลงานกระดานซูโดกุเพื่อคนตาบอด ประกอบไปด้วยสมาชิกทั้งหมด 3 คน ได้แก่ นายศิวนนท์ จันทร์เพ็ชร นายธนากร เชื้อกลางใหญ่ นักศึกษาสาขาวิศวกรรมโทรคมนาคม และ นายชายชาญ เพียรพยุงพงษ์ นักศึกษาสาขาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี

2. ทีม Mega tech ผลงานนวัตกรรมป้องกันการเดินชนสิ่งกีดขวาง (Smart blind cane) ประกอบไปด้วยสมาชิกทั้งหมด 5 คน ได้แก่ นายปรเมศวร์ งีสันเทียะ นางสาวสุดาพร ทองบาน และนางสาวพรรณนิภา กรสิงห์ นักศึกษาสาขาวิศวกรรมโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี และ นายณัฐพล นาคพะเนาว์ นายภูผา มิ่งขวัญ นักศึกษาสาขาวิศวกรรมแมคคาทอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี

3. ทีม Eye Toys ผลงานหมากรุกสากลสำหรับผู้พิการทางสายตา ประกอบไปด้วยสมาชิกทั้งหมด 5 คน ได้แก่ นายกฤษดา คุ้มสุวรรณ นายรัฐวุฒิ กระจ่างโพธิ์ นายสหัสวรรษ มณีศรี นางสาวจุฑามณี เหลวกูล และ นางสาวจารุวรรณ นาดสูงเนิน นักศึกษาสาขาวิศวกรรมโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี

4. ทีม CPE POWER ผลงานเครื่องคัดแยกขยะ ประกอบไปด้วยสมาชิกทั้งหมด 3 คน ได้แก่ นางสาวกรรณิกา มูลขุนทด นางสาวพิชญานันท์ สวัสดี และนางสาวพิศมา เราสูงเนิน นักศึกษาสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี

5. ทีม Beelive ผลงานสื่อการเรียนรู้อักษรเบรลล์สำหรับเด็กปฐมวัย ประกอบไปด้วยสมาชิกทั้งหมด 5 คน ได้แก่นายกรวัตร์ เจริญศักดิ์ นายกิตติศักดิ์ ปานสูงเนิน นางสาวเกษราภรณ์ วัชรินทร์ปรีชา และ Mr.vuthtpiseth phon นักศึกษาสาขาสาขาวิศวกรรมโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี และนางสาวเมษา เนียมสันเทียะ นักศึกษาสาขาการเงิน คณะบริหารธุรกิจ

สถาบันชุณหะวัณฯ /ข่าว
จิตสุภา ประหา /เรียบเรียง

Message us
English EN Thai TH

เรียน นักศึกษา บุคลากร และผู้ใช้งานทุกท่าน

ตามที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานได้ดำเนินการปรับปรุงระบบเว็บไซต์เวอร์ชันใหม่
ขอความร่วมมือผู้ใช้งานทุกท่านใช้งานเว็บไซต์ใหม่ได้ที่

www.rmuti.ac.th