อธิการบดี มทร.อีสาน ชูโลจิสติกส์-กัญนคร เป็นนโยบายพัฒนาเมืองโคราช ในการเสวนาเครือข่ายการพัฒนาเมืองโคราชในมุมมองของมหาวิทยาลัย

วันที่ 22 เมษายน 2565 มทร.อีสาน โดย รศ.ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดี ได้รับเชิญให้เข้าร่วมนำเสนอ “แนวคิดในการพัฒนาจังหวัดนครราชสีมาในมุมมองของมหาวิทยาลัย” ในการประชุมเชิงปฏิบัติการในการพัฒนาด้านสังคม กิจกรรมหลัก : ค่าใช้จ่ายในการบริหารงานจังหวัด/กลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ กิจกรรมย่อย : ส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานการตรวจติดตามและประเมินผลตามนโยบานรัฐบาลฯ โดยมี นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานภายในงาน ณ โรงแรมแคนทารี่ โคราช (ห้องประชุมลำปลายมาศตึก 2 ชั้น 4)

โดย รศ.ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดี กล่าวว่า มทร.อีสาน มีความพร้อมทั้งด้านระบบราง อากาศยาน และมีเครือข่ายโลจิสติกส์ที่ครอบคลุมในทุกคณะของมหาวิทยาลัย ทั้งด้านบริหาร วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ ปัจจุบันสามารถผลิตกำลังคนด้านระบบรางได้มากกว่า 500 คน/ปี และถ่ายทอดเทคโนโลยีแบบ Non-Degree แก่ผู้สนใจไปแล้วมากกว่า 6,000 คน ส่วนทางอุตสาหกรรมการบินนั้นสามารถผลิตกำลังคนได้มากกว่า 150 คน/ปี ซึ่งได้เริ่มขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมตั้งแต่ปี 2558 ทั้งยังได้มีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมกับจังหวัดนครราชสีมา ดำเนินการการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัด ประกอบด้วย 1) ด้าน Smart City 2) ด้าน Mice City และ 3) ด้าน Dry Port ซึ่ง มทร.อีสาน ได้รับมอบหมายให้เป็นประธานดำเนินงานเครือข่ายด้าน Dry Port ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีและมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เพื่อให้เป็นสถาบันที่ดำเนินงานขับเคลื่อนด้าน Dry Port ร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน พร้อมทั้งเป็นสถาบันที่สนับสนุนข้อมูลเชิงวิชาการและสร้างความเข้าใจกับภาคประชาชนให้เข้าใจถึงความสำคัญและผลประโยชน์ของการจัดตั้ง Dry Port นครราชสีมา เพื่อให้จังหวัดนครราชสีมาประสบความสำเร็จในการเป็นท่าเรือบกภาคอีสานพร้อมเป็นประตูสู่ทางเชื่อม ไทย-จีน ได้อย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว

สำหรับแนวทางการพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา ภายใต้สถาบันเครือข่ายโลจิสติกส์และการขนส่งบนศักยภาพของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ได้สรุปเป็นแนวทางได้ 8 ข้อ ดังนี้

1. การพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางของจังหวัดนครราชสีมา ทาง มทร.อีสาน ที่วิทยาเขตขอนแก่น ได้ดำเนินโครงการ “การวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบรถไฟฟ้ารางเบาโดยใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตภายในประเทศ : เพื่อต่อยอดไปสู่การผลิตในภาคอุตสาหกรรม” ได้รับทุนวิจัย 100 ล้านบาท จาก สอวช. ในโครงการ “การวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบรถไฟฟ้ารางเบาโดยใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตภายในประเทศ : เพื่อต่อยอดไปสู่การผลิตในภาคอุตสาหกรรม” ระยะเวลาดำเนินงาน 2 ปี (2563-2564)

2. การพัฒนาท่าเรือบกของจังหวัดนครราชสีมา มทร.อีสาน ได้ส่งบุคลากรผู้เชี่ยวชาญเข้าไปร่วมกับจังหวัดในการศึกษาวิจัยพื้นที่ที่มีความพร้อมทางกายภาพและชีวภาพที่เหมาะสมในการพัฒนาเป็นท่าเรือบก เพื่อเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าภายในประเทศผ่านเส้นทางรถไฟไปสู่ท่าเรือแหลงฉบัง

3. การเชื่อมโยงเครือข่ายโลจิสติกส์ของภาคอีสาน โดยจัดตั้งสถาบันเครือข่ายโลจิสติกส์และการขนส่ง (Institute of Collaborative Logistics and Transportation) เพื่อเป็นศูนย์กลางประสานงานและเป็นแหล่งให้ความรู้และพัฒนาบุคลากรของประเทศ

4. การตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานและอากาศยานไร้คนขับของจังหวัดนครราชสีมา ทาง มทร.อีสาน ได้เตรียมจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมและสอบใบอนุญาตขับขี่อากาศยานไร้คนขับ ที่ ศูนย์การศึกษาหนองระเวียง มทร.อีสาน

5. การตั้งศูนย์ฝึกอบรมจักรกลหนักของจังหวัดนครราชสีมา โดยมี วิทยาลัยนวัตกรรมวิชาชีพ สถาบันสหสรรพศาสตร์ มทร.อีสาน เป็นผู้ดูแลดำเนินการ

6. การพัฒนา Smart City ของจังหวัดนครราชสีมา โดย มทร.อีสาน ได้ดำเนินการตั้งศูนย์วิทยาการสารสนเทศเมืองรองรับการขับเคลื่อนระบบข้อมูลเปิดอัจฉริยะ KIOC : Korat Intelligent Operation Center โครงการวิจัย “การพัฒนาเมืองคาร์บอนต่่ำที่น่าอยู่” (Low Carbon & Livable City) และ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อพยากรณ์การเพาะปลูกที่เม่นยำให้แก่เกษตร

7. กัญนคร @ ราชมงคล ของจังหวัดนครราชสีมา โดย มทร.อีสาน เป็นศูนย์กลางในการผลิตกัญชากัญชงและสมุนไพรคุณภาพดีร่วมกับวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากกัญชากัญชงและสมุนไพรเพื่อสุขภาพและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ

8. การพัฒนา Health & Wellness ของจังหวัดนครราชสีมา โดย มทร.อีสาน จะมุ่งสร้างให้โคราชเป็นมหานครด้านสุขภาพ ด้วยการเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาวิจัยและพัฒนาพืชสมุนไพรไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พืชกัญชง กัญชา กระท่อม

ทั้งจะเห็นได้ว่า มทร.อีสาน มีความพร้อมอย่างมากในหลายด้าน และมีเป้าหมายในการขับเคลื่อนได้อย่างชัดเจน ทั้งในเรื่องของระบบขอนส่งโลจิสติกส์ที่สามารถเชื่อมโยงเข้ากับการพัฒนาด้านสุขภาพและความกินดีอยู่ดีของประชาชนในประเทศ ซึ่งหวังว่าแนวคิดในการพัฒนาจังหวัดนครราชสีมาในมุมมองของมหาวิทยาลัยจากผมจะเป็นประโยชน์ต่อทางจังหวัดนครราชสีมาในการร่วมมือกันขับเคลื่อนให้สำเร็จเพื่อประชาชนชาวโคราชต่อไปครับ รศ.ดร.โฆษิต กล่าวทิ้งท้าย

จิตสุถา ประหา /ข่าว

Message us
English EN Thai TH

เรียน นักศึกษา บุคลากร และผู้ใช้งานทุกท่าน

ตามที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานได้ดำเนินการปรับปรุงระบบเว็บไซต์เวอร์ชันใหม่
ขอความร่วมมือผู้ใช้งานทุกท่านใช้งานเว็บไซต์ใหม่ได้ที่

www.rmuti.ac.th