การพัฒนาแนวความคิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของมนุษย์เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราเรียกว่า"โลกทรรศน์"
และ "จริยธรรม" ซึ่งมีความหลากหลาย ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะโลกทรรศน์
และจริยธรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ที่สําคัญดังนี้
โลกทรรศน์แบบอุตสาหกรรมนิยม
E.F.
Schumacher กล่าวว่า "ความเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อม ไม่ได้เกิดจากความขาดแคลนข้อมูล
กําลังคนหรืองบประมาณเพื่อการวิจัย ความเสื่อมโทรมนี้เกิดจากวิถีการดํารงชีวิตของโลกสมัยใหม่ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อบางอย่าง"
หมายความว่า วิกฤตการณ์ทางสิ่งแวดล้อมที่กําลังเกิดอยู่บนโลกของเรานั้นมีต้นกําเนิดมาจากโลกทรรศน์และจริยธรรมที่ดํารงอยู่ในระบบเศรษฐกิจ
คนในสังคมอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มีโลกทรรศน์ที่เรียกว่า "Throwaway
worldview" ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อหลายประการ ซึ่งบางครั้งอาจจะดูจากพฤติกรรมคือ
-
มนุษย์เราแยกออกจากธรรมชาติ
-
มนุษย์เราอยู่เหนือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
-
บทบาทของมนุษย์เรา คือพิชิตและบังคับให้ธรรมชาติอยู่ใต้อํานาจของเรา
และใช้ธรรมชาติให้เป็นประโยชน์ต่อเรา
-
ทรัพยากรมีมากมายไม่มีขีดจํากัด ทรัพยากรสามารถเพิ่มปริมาณขึ้นได้เสมอ
และถ้าเกิดขาดแคลน เราก็สามารถแสวงหาสิ่งใหม่ ๆ มาทดแทนได้
-
ยิ่งบริโภคและผลิตมากขึ้นเราก็ยิ่งสบายขึ้นการครอบครองวัตถุมากขึ้นแบบไม่มีขอบเขตย่อม
เป็นไปได้เสมอเพราะเรามีความเจริญทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ความเจริญเติบโตทั้งปวงเป็นสิ่งที่ดี
มีความเจริญมากขึ้นยิ่งดี
-
บุคคลที่สําคัญหรือชาติที่สําคัญ คือบุคคลหรือชาติที่สามารถควบคุมและใช้ทรัพยากรได้มากที่สุด
โลกทรรศน์แบบนี้ได้รับการสนับสนุนจากความเชื่ออีกอย่างหนึ่งที่ว่า
"เรากําลังอยู่ในยุคข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สําคัญที่สุดในการให้ความมั่งคั่งและอํานาจแก่เรา
การครอบครองข่าวสารจะเป็นเครื่องมือหลักที่สนับสนุนให้มนุษย์สามารถครอบงําพิภพได้เบ็ดเสร็จ
การใช้ประโยชน์จากธรรมชาติยิ่งเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพที่สุด
"โลกทรรศน์แบบอุตสาหกรรมนิยมนี้น่าจะ เกิดจากโลกทรรศน์หลักที่เรียกว่า
Technocentrism ซึ่งตั้งอยู่บนความเชื่อว่า มนุษย์มีความสามารถสูงในการใช้เทคนิควิทยาศาสตร์
และการจัดการเพื่อแสวงหา ประโยชน์จากธรรมชาติได้อย่างไม่มีขอบเขต การมีพลังอํานาจทางเทคโนโลยีอันมหาศาลทําให้มนุษย์สามารถควบคุมจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้
จริยธรรมทางสิ่งแวดล้อมแบบใหม่
ตราบใดที่เรามองโลกด้วยโลกทรรศน์แนว
Technocentrism เราจะไม่มีวันหลุดพ้นไปจากวิกฤตการณ
์ทางสิ่งแวดล้อมได้เลยจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการมองโลกด้วยวิถีทางใหม่ที่เชื่อว่า
"โลกเป็นระบบที่มีชีวิต มนุษย์เราเป็นสิ่งมีชีวิต
ที่ไม่อาจแยกจากธรรมชาติได้มนุษย์เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ
เป็นสมาชิกของประชาคมโลกธรรมชาติซึ่งเต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตหลากหลายที่มีความเชื่อมโยงกัน"
เราอาจเรียกแนวใหม่นี้ว่า
"Sustainable Earth worldview" โดยในภาษาไทยใช้ศัพท์คําว่า
"โลกธรรมชาติยั่งยืน" ซึ่งสามารถ สรุปสาระได้ 4 หัวข้อ
คือ
1.
เรียนรู้กฎนิเวศวิทยาอย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะเข้าใจปรากฏการณ์พื้นฐานทางธรรมชาติและให้มีพฤติกรรม
สอดคล้องกับกฎธรรมชาติอย่างกลมกลืน อันเป็นเงื่อนไขสําคัญที่สุดของการดํารงอยู่ของธรรมชาติอย่างหลากหลายและมีเสถียรภาพ
กฎนิเวศวิทยาที่สําคัญมีดังนี้
1.1
ทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์เราทําไป ย่อมมีผลกระทบที่เราไม่สามารถพยากรณ์ได้
ต่อบุคคล ต่อสังคม และต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหมดในโลกธรรมชาติ
1.2
มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตทั้งหมดเกี่ยวพันกันและอาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกัน
1.3
ธรรมชาติมีลักษณะยุ่งยาก ซับซ้อนที่สุด โดยที่มนุษย์ไม่สามารถเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งและรอบด้าน
1.4
โลกธรรมชาติไม่ได้เป็นของมนุษย์ หากแต่มนุษย์เป็นของธรรมชาติ มนุษย์เป็นเพียงส่วนเล็กๆ
ของสายใยแห่งชีวิต เป็นสมาชิกหนึ่งของโลกธรรมชาตินั่นเอง
1.5
บทบาทของมนุษย์ คือทําความเข้าใจร่วมมือทํางานกับธรรมชาติ ไม่ใช่พิชิตธรรมชาติ
จะเห็นได้ว่า
กฎนิเวศวิทยาทั้ง 5 ข้อนี้เป็นพื้นฐานของการสร้างจริยธรรมทางสิ่งแวดล้อมแบบใหม่
ซึ่งจะเป็น
เครื่องชี้นําให้เรามีวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติ
2. เคารพสิทธิทางธรรมชาติของสรรพสิ่งมีชีวิต โลกทรรศน์ "โลกธรรมชาติยั่งยืน"
ให้ความสําคัญเรื่องสิทธิและหน้าที่ของบุคคลในสังคม นอกจากนั้นยังขยายขอบเขตของสิทธิมนุษย์ไปสู่สิ่งมีชีวิตทั้งหมดด้วย
หลักการสําคัญเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่เหล่านี้ คือ
2.1
สิ่งมีชีวิตทั้งหลายมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ หรืออย่างน้อยที่สุดมีสิทธิที่จะต่อสู้เพื่อการมีชีวิตอยู่ด้วย
เหตุผลง่ายๆ ที่ว่าเมื่อเกิดมาแล้วต้องดํารงอยู่ต่อไป
2.2
การกระทําใดๆ ก็ตาม ถ้าทําไปเพื่อรักษาเสถียรภาพ ความยั่งยืน และความหลากหลายของระบบนิเวศ
ถือได้ว่าเป็นสิ่งถูกต้อง แต่ถ้าทําไปเพื่อทําลายถือว่าผิด
2.3
มนุษย์ ทุกคนที่ เกิดมาต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองในกรณี ที่ก่อให้เกิดมลพิษ
และสร้าง
ความทรุดโทรมให้กับธรรมชาติ
การนําของเสียไปทิ้งในธรรมชาตินับเป็นความผิดที่ร้ายแรง
2.4
เราจะต้องมอบโลกธรรมชาติ ให้เป็นสมบัติ ของคนรุ่นหลังในสภาพที่ไม่ทรุดโทรมหรือในสภาพที่ดีกว่า
คนรุ่นหลังในอนาคตก็มีสิทธิที่จะมีคุณภาพทางสิ่งแวดล้อมเท่าเทียมกัน
3.
รักษ์และอนุรักษ์ธรรมชาติ โลกทรรศน์แบบใหม่มีแนวคิดว่า สิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตไม่ใช่สิ่งของ
หากแต่เป็นความรัก ความห่วงใย ความเมตตา และความสุข จึงยึดหลักที่ว่า
3.1
การกระทําที่ก่อให้เกิดการสูญพันธุ์ และการทําลายถิ่นฐานของสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติเป็นสิ่งที่ผิด
3.2
เราจะต้องให้การคุ้มครองพื้นที่ธรรมชาติ ที่ยังเหลืออยู่ไม่ให้มีการดําเนินกิจกรรมใดๆที่ทําลายธรรมชาติ
และจะต้องทําการฟื้นฟูระบบธรรมชาติที่เสื่อมโทรม ธรรมชาติคือ ถิ่นฐานที่เราเคยเริ่มต้นมา
3.3
ในการคุ้มครองธรรมชาติ เราจะต้องดําเนินการให้ไปไกลกว่าข้อบังคับทางกฎหมาย
3.4
จงให้ความรัก ความห่วงใย ความเอาใจใส่สิ่งแวดล้อมในชุมชนของเรา และดํารงชีวิต
อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ
3.5
มีความเมตตาและความรักต่อผู้ยากไร้ และสิ่งแวดล้อมของผู้ยากไร้มากที่สุด
เหนือสิ่งอื่นใด สันติสุข
และความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมไม่อาจมีขึ้นได้ ตราบใดที่มวลชนส่วนใหญ่ในสังคมยังยากไร้อยู่
3.6
รักและชื่นชมธรรมชาติโดยการสัมผัสโดยตรง จะเป็นวิถีทางที่ดีที่สุดในการสอนให้เราอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
4. สร้างจริยธรรมทางเศรษฐศาสตร์สีเขียว มีหลักการที่สําคัญ
คือ
4.1
ในการสนองความต้องการของมนุษย์เพื่อการดํารงอยู่ควรที่จะต้องใช้ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
อย่างระมัดระวังที่สุด ไม่ให้เกิดความเสียหายอย่างมากหรือรุนแรง
4.2
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติ ก็ต้องเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ยั่งยืน
สอดคล้องกับวิถีทางธรรมชาติ
4.3
ทรัพยากรมีปริมาณจํากัด จึงต้องใช้แบบประหยัดไม่ล้างผลาญหรือฟุ่มเฟือย
4.4
ต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติของโลกอย่างเหมาะสมพอดี
4.5
เป็นสิ่งที่ผิด ถ้าเรามองว่า คนและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ คือปัจจัยการผลิต
ซึ่งวัดค่าด้วยเงินตรา
4.6
ทุกสิ่งที่เรามีในระบบเศรษฐกิจมีตนกําเนิดจากโลกธรรมชาติ และแสงอาทิตย์
ถ้าโลกธรรมชาติล่มสลายเศรษฐกิจก็พังไปด้วย
4.7
อย่ากระทําสิ่งใดที่เป็นการทําลายดุลยภาพในโลกธรรมชาติ อันเป็นการ
บั่นทอน"ทุนธรรมชาติ" ซึ่งเป็นพื้นฐานสนับสนุนระบบเศรษฐกิจ
การขาดดุลยภาพทางธรรมชาติ คือการขาดสมดุลที่ยิ่งใหญ่
และร้ายแรงที่สุด
Miller
กล่าวว่า การที่เราจะมีโลกทรรศน์แนวโลกธรรมชาติยั่งยืนได้นั้น เราต้องผ่านการยกระดับ
"ความตื่นตัวทางสิ่งแวดล้อม" (Environmental awareness)
4 ระดับด้วยกัน คือ
ระดับ
ที่1 เราเริ่มมองเห็นปรากฏการณ์และรับรู้ปัญหา เราเริ่มรู้สึกว่า
กําลังมีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้น เช่น ปัญหามลพิษ เราคิดแต่เพียงว่า
เมื่อมีปัญหามลพิษ เราต้องเข้าไปแก้ไข โดยการควบคุมหรือแก้ไข แต่ยังมองไม่เห็นระบบ
ระดับที่
2 เริ่มมองเห็นความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ
เช่นเริ่มรู้สึกว่าปัญหามลพิษ ความเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อม และการหมดสิ้นของทรัพยากรเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับปัญหาประชากร
การพัฒนาอุตสาหกรรม ลัทธิการบริโภคนิยม และความยากจนในสังคม การตื่นตัวมากขึ้นในระดับนี้เรียกร้องให้เราแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบเช่นกัน
แต่เรายังมองไม่เห็นว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมเข้าไปเกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจการเมืองได้อย่างไร
ระดับที่
3 การตื่นตัวในระดับนี้ จะทําให้เรามองเห็นความเชื่อมโยงทางด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบมากขึ้น
และมีการแสวงหาทางเลือกใหม่ ๆ ในการจัดระบบทางเศรษฐกิจสังคม เช่นมองหาแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจแบบใหม่
ที่เรียกกันว่า "การพัฒนาแบบยั่งยืน" ในขณะเดียวกันก็พัฒนาวิธีการจัดการทางสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะสลับซับซ้อนและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ระดับที่
4 เป็นการตื่นตัวในระดับสูงสุด มนุษย์จะต้องนึกถึงหาก "ความอยู่รอดของธรรมชาติ"
ไม่ใช่ "ความอยู่รอดของมนุษย์" จริยธรรมทางสิ่งแวดล้อมจะเกิดขึ้นได้
ก็ต่อเมื่อเรามีความสัมพันธ์กับธรรมชาติ โดยการเห็น การรู้สึกสัมผัส
การเข้าใจ ความรักและความห่วงใย ที่สําคัญคือ เกิดความศรัธทาโลกทรรศน์ใหม่
ซึ่งเป็นวิถีการคิดและความรู้สึกแบบใหม่ อันเกิดจากการเข้าถึงธรรมชาติ
ซึ่งหมายความว่า วิถีชีวิตแบบใหม่จะต้องมีลักษณะเรียบง่าย ปฎิเสธบริโภคนิยม
ไม่ลุ่มหลงในวัตถุ และใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย
[โลกทรรศน์แบบอุตสาหกรรมนิยม] [จริยธรรมสิ่งแวดล้อมแบบใหม่]
|