พื้นฐานทางสิ่งแวดล้อมและ
การจัดการทรัพยากร
ควาหมายและขอบเขตของ
การศึกษาสิ่งแวดล้อม
การพัฒนาแนวความคิดเกี่ยวกับ
สิ่งแวดล้อมของมนุษย์
แนวทางและหลักการพัฒนา
ทางสิ่งแวดล้อม
องค์ประกอบที่สำคัญของ
การพัฒนาที่ยั่งยืน
หลักการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมกับ
คุณภาพชีวิต
 
กระบวนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์
- ลำดับขั้นของกระบวนการ
การศึกษานอกสถานที่
การใช้สื่อต่าง ๆ
การจัดกิจกรรมพิเศษ
การจัดโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
การสำรวจ วิเคราะห์ และทำรายงาน
ปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน
ตัวอย่างการใช้และการจัดการ
สิ่งแวดล้อมในประเทศ
ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับ
สิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
 
 
   
   
   
   
   
 
   
   
   
 
   
   
   
 

              การนําผู้เรียนไปศึกษานอกสถานที่ทําให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศได้โดยตรง และยังทําให้ผู้เรียนได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินจากการสังเกตเห็นความเป็นไปในสิ่งแวดล้อม การศึกษานอกสถานที่ (Outdoor education) ไม่จําเป็นต้องพาผู้เรียนไปไกลๆ เสมอไปอาจนําผู้เรียนไปแค่สนามในสถานศึกษา ป่าละเมาะในสถานศึกษา ถนนหน้าสถานศึกษา ฯลฯ ผู้เรียนก็สามารถเรียนรู้เรื่อง "ระบบนิเวศ " ได้มากมาย

               การนําผู้เรียนออกไปศึกษานอกสถานที่อาจแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
              1. การสํารวจ ผู้สอนอาจนําผู้เรียนไปสํารวจจํานวนสิ่งที่มีชีวิตที่อาจพบได้ในระบบนิเวศที่มีลักษณะต่างๆ กัน
การนําผู้เรียนออกไปผู้สอนจะต้องเตรียมคําถามที่อาจเกิดจากสิ่งที่ผู้เรียนอยากรู้เองเพื่อเป็นแนวทางในการสํารวจ
              2. การแสวงหาคําตอบ การศึกษานอกสถานที่โดยวิธีนี้เป็นการเสริมบทเรียนที่ได้เรียนในชั้นให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และเป็นการออกไปทัศนศึกษาเพื่อแสวงหาคําตอบอย่างหนึ่งอย่างใดโดยเฉพาะเช่น นกกางเขนกินอะไรเป็นอาหาร
นกกระจาบทํารังได้อย่างไร หรือมดสามารถเดินทางไปยังแหล่งอาหารได้อย่างไร เป็นต้น

              การวางแผนการไปศึกษานอกสถานที่ ก่อนนําผู้เรียนไปศึกษานอกสถานที่ไม่ว่าไปไกลหรือใกล้ หรือใช้เวลามากน้อยเพียงใด ควรจะได้มีการเตรียมการล่วงหน้า ดังนี้
             1. สถานที่ที่จะไป ผู้สอนจะต้องรู้จักสถานที่ดีพอสมควร เช่น จะต้องใช้เวลาเดินทางเท่าไร สถานที่กว้างพอที่จะให้จํานวนผู้เรียนเข้าไปได้หมดหรือไม่ ต้องขออนุญาตเข้าดูสถานที่ล่วงหน้าหรือไม่ เป็นต้น
                     1. สิ่งที่ต้องการสังเกต ก่อนที่จะนําผู้เรียนออกไป ผู้สอนควรทราบว่าจะให้ผู้เรียนสังเกตอะไร เช่น ต้นไม้ที่ต้องการให้ผู้เรียนไปสังเกตมีความสัมพันธ์กับแสงสวางอย่างไรซากพืชทําให้ดินเกิดความอุดมสมบูรณ์อย่างไร เป็นต้น
                     2. การจูงใจ อธิบายถึงจุดมุ่งหมายในการศึกษานอกสถานที่กับผู้เรียน ก่อนที่จะนําผู้ เรียนออกไป เพื่อให้ผู้เรียนทราบว่าจะต้องไปสังเกตอะไรบ้าง เมื่อผู้เรียนรู้จุดมุ่งหมายในการไปจะมีความสนใจต่อการไปศึกษา

            2. การสํารวจสถานที่ก่อนไป การไปสํารวจสถานที่ก่อนนําผู้เรียนออกไปจะทําให้ผู้สอนได้ตระเตรียมรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นเพื่อจะ ได้แก่ปัญหาได้ถูกต้อง ผู้สอนต้องสํารวจสถานที่ก่อนอย่างละเอียดเสมอ

            3. สิ่งที่ควรนําติดตัวไป ผู้เรียนควรนําสิ่งของติดตัวไปให้น้อยที่สุด นําไปเฉพาะสิ่งที่จําเป็นเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามการจะนําอะไรไปบ้างขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายในการไปแต่ละครั้ง เช่น ผู้เรียนอาจต้องใช้ดินสอ สมุดบันทึก เชือกสําหรับทําเครื่องหมายในการสํารวจ เข็มทิศ เป็นต้น

            4. กฎในการไป ผู้สอนจะต้องชี้แจงหรืออธิบายถึงข้อควรปฏิบัติในการไปศึกษานอกสถานที่ เช่น
                    - ผู้เรียนควรอยู่ในสายตาผู้ควบคุมตลอดเวลา
                    - พยายามรักษาสถานที่ที่ไปศึกษาให้อยู่ในสภาพเดิม โดยไม่นําวัตถุอื่นเข้าไปแทนที่ ไม่ควรเคลื่อนย้ายสิ่งต่างๆ พยายามไม่ทําลายพืชและสัตว์ในบริเวณนั้น
                    - เมื่อพบเห็นสิ่งที่น่าสนใจให้นําเชือกหรือผ้าริบบิ้นผูกติดไว้เป็นที่สังเกต เพื่อว่าจะได.กลับมาดูหรือให้คนอื่นดูได้สะดวก
                    - คอยฟังสัญญาณเรียกหรือคําสั่งจากผู้ควบคุม เป็นต้น

            5. ข้อควรระวัง ถ้าจะนําผู้เรียนไปในบริเวณที่อาจเป็นอันตราย เช่น มีสัตว์หรือพืชที่เป็นพิษ ผู้สอนต้องชี้แจงให้ผู้เรียนรู้จักสัตว์และพืชเหล่านั้น และรู้วิธีป้องกันอันตราย

            6. การเก็บตัวอย่าง ในการไปศึกษานอกสถานที่อาจจําเป็นต้องเก็บตัวอย่างสิ่งที่ไปศึกษามาเพื่อนํามาแสดงในโรงเรียน จึงควรเก็บเฉพาะสิ่งที่จําเป็น และไม่ทําลายสภาพแวดล้อมเดิม