|
|
การพัฒนาที่ยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความร่วมมือของมนุษย์ด้วยกันเอง
คือมนุษย์ต้องตระหนักว่า การพัฒนาสังคมให้เจริญก้าวหน้าได้จําเป็นต้องพัฒนาให้สมดุลทั้งทางด้านเศรษฐกิจคุณภาพชีวิต
รวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งมีหลักการสําคัญของการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืนในสาขาต่างๆ
ดังนี้
1.
หลักการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืน ในการจัดการป่าไม้ต้องคํานึงถึงความยั่งยืนของศักยภาพการอํานวยน้ำ
ความยั่งยืนของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ภายในระบบนิเวศ โดยที่ยังคงเอื้อประโยชนให้แก่ประชาชน
นักวิทยาศาสตร์ และนักท่องเที่ยวต่อไปได้ ในเรื่องนี้คงจะต้องมีการจัดสรรพื้นที่การใช้ประโยชน์ให้เหมาะสม
จะต้องมีการควบคุมการใช้ประโยชน์ในแต่ละประเภทให้มีความรัดกุม ชัดเจนเพียงพอที่จะนําไปปฏิบัติ
รวมทั้งต้องหามาตรการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และได้ประโยชน์ไปพร้อมๆ
กัน
2.
หลักการใช้ประโยชน์ทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืน ทรัพยากรประมงเป็นทรัพยากรที่มีลักษณะเฉพาะตัว
คือเป็นสาธารณสมบัติ (Commen Property) ดังนั้นทุกคนจึงมีเสรีภาพในการที่จะเข้าไปเก็บเกี่ยวใช้ประโยชน์จากทรัพยากรนี้
สําหรับข้อเสนอในการควบคุมการใช้ทรัพยากรประมงก็คือ การควบคุมอาชญาบัตรประมง
เป็นต้น นอกจากนี้การอนุรักษ์ทรัพยากรประมงที่สําคัญอีกประการหนึ่ง
ก็คือการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในทะเล โดยจะต้องคุ้มครองให้สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นสามารถสืบทอดลูกหลานต่อไปได้
ดังนั้นในการอนุรักษ์ทรัพยากรการประมงจึงจําเป็นต้องศึกษาและกําหนดอาณาเขตพร้อมทั้งควบคุมการใช้
ประโยชน์ พื้นที่ดังกล่าวให้เหมาะสมอีกด้วย
3. หลักการทําการเกษตรแบบยั่งยืน ปัจจัยที่มีผลให้เกิดระบบเกษตรแบบยั่งยืน
มี 2ประการ คือ
-
ความหลากหลายทางชีวภาพ (Diversity) ของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศเกษตร
(Agro-ecosystem) นั้นๆ
-
ความผสมกลมกลืน ((Harmonization) โดยอาศัยความหลากหลายที่เกิดขึ้นในระบบเกษตรนั้น
จะต้องมีความผสมกลมกลืนกัน ในการอาศัยพึ่งพาเกื้อกูลซึ่งกันและกันภายใต้
สถานการณ์ปัจจุบันเกษตรกรจึงต้องเผชิญหน้ากับปัญหาความเสื่อมโทรมของดินปัญหาวัชพืช
ปัญหาโรคพืชและแมลงศัตรูพืช ดังนั้นการปรับเปลี่ยนแบบแผนการผลิตโดยสร้างความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระบบการผลิตและระบบนิเวศเกษตรจึงมีความจําเป็น
ดังนั้นระดับที่เกษตรกรแต่ละรายปรับเปลี่ยนได้ก็จะแตกต่างกันไป บางรายอาจจะนําแบบแผนเก่ากลับมาใช้ได้
บางรายอาจจะปรับสู่ระบบเกษตรผสมผสานที่มีกิจกรรมเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ที่เกื้อกูลกัน
มีการปรับพื้นที่ เช่น ยกร่อง ขุดบ่อปลามีการทําสวนผลไม้ ปลูกผัก และเลี้ยงสัตว์
รวมถึงการทํานาในอาณาบริเวณที่ใกล้เคียงกัน บางรายที่มีข้อจํากัดในการปรับพื้นที่
และไม่พร้อมที่จะเลี้ยงสัตว์ ก็อาจจะใช้ระบบวนเกษตร ซึ่งอาศัยการพึ่งพากันระหว่างพืชและเน้นความหลากหลายของพืชเป็นหลัก
4.
หลักการพัฒนาอุตสาหกรรมแบบยั่งยืน วิธีการลดมลพิษในระบบการผลิตนั้น
อาจทําได้ดังนี้
-
การจัดการที่ดีในการควบคุมตรวจสอบการทํางานของระบบการผลิตให้เกิดของเสียน้อยที่สุด
-
เปลี่ยนวัสดุการใช้หรือปัจจัยการผลิต หรือเปลี่ยนสูตรการผลิตที่ก่อมลพิษ
-
ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรการผลิตประสิทธิภาพสูงขึ้น
-
หมุนเวียนนําวัสดุกลับมาใช้ใหม่จากของเสียอุตสาหกรรมในประเทศไทยปัญหาในการกําจัดของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมก็ยังคงมีอยู่
เพราะว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก เงื่อนไขที่สําคัญที่จะนําไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมแบบยั่งยืน
คือความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยที่จะจัดการของเสียของตนเอง
เพื่อลดความจําเป็นในการนําเข้าเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีราคาแพงจากต่างประเทศลง
5.
หลักการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน ทุกๆ ส่วนในสังคมจะต้องร่วมกันหามาตรการและเป็นผู้ดําเนินการใช้พลังงานอย่างประหยัด
6.
หลักการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืน การควบคุมการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติที่ประสานกลมกลืนกับธรรมชาติ
เปิดโอกาสให้กลไกของธรรมชาติดําเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง โดยสามารถรักษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศนั้นให้ดํารงอยู่ได้
ในการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน จะต้องคํานึงถึงการย่อยสลายในระบบนิเวศด้วย
เพราะกระบวนการย่อยสลายจะเป็นกระบวนการสําคัญในการทําให้ทรัพยากรเหล่านั้นได้รับการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่จึงเป็นเรื่องจําเป็นที่รัฐบาลจะต้องกําหนดแนวทางในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้ชัดเจน
โดยจําแนกทรัพยากรตามศักยภาพการใช้ประโยชน์และคุณค่าทางนิเวศวิทยาถ้าเราสามารถใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
เราก็จะสามารถมีชีวิตอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้อีกมาก ความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำและดิน
ความสดชื่นของอากาศและความสวยงามตามธรรมชาติก็คงจะหวนกลับมาและอยู่กับลูกหลานของเราได้ต่อไป
7.
การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน หมายถึงการพัฒนาที่สามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว
และผู้เป็นเจ้าของท้องถิ่นในปัจจุบัน โดยมีการปกป้องและสงวนรักษาโอกาสต่างๆ
ของอนุชนรุ่นหลังด้วย การท่องเที่ยวนี้มีความหมายรวมถึงการจัดการทรัพยากรเพื่อตอบสนองความจําเป็นทางเศรษฐกิจ
สังคมและความงามทางสุนทรียภาพ ในขณะที่สามารถรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและระบบนิเวศด้วย
โดยแนวทางการสร้างกรอบนโยบายและแนวทางปฏิบัติดังนี้
-
มุ่งพัฒนาการท่องเที่ยวในประเทศก่อนการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ
-
ต้องคํานึงถึงขีดความสามารถในการรองรับ (Carrying capacity) ทุกๆ ด้าน
-
ประชาชนในท้องถิ่นจะต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในโครงการต่างๆ ที่จะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนส่วนใหญ่ในพื้นที่
(Local participation)
-
มุ่งใช้วัสดุและผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น (Local product)
-
เน้นกระจายรายได้สู้ท้องถิ่น
-
คุณค่าของสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมนั้นเป็นคุณค่าที่มีอยู่ในตัวเอง
-
การปรับตัวเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นสิ่งจําเป็น แต่ทั้งนี้ต้องไม่ขัดกับหลักการดังกล่าวข้างต้น
- ภาคธุรกิจการท่องเที่ยว
องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมและรัฐมีหน้าที่จะต้องทํางานร่วมกันอย่างเสมอภาค
และวางอยู่บนหลักการข้างต้น
|