|
|
ในการดําเนินกิจกรรมทุกประเภทซึ่งรวมทั้งการบริหารงานสิ่งแวดล้อม
จะต้องประกอบด้วยการจัดการซึ่งเป็นกระบวนการที่สําคัญ เพราะการจัดการที่ดีจะช่วยลดปัญหาต่างๆ
ลงได้ การจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นการจัดการที่มีความจําเป็นอย่างเร่งด่วน
ซึ่งเราทุกคนต้องช่วยกันศึกษา หาความรู้ วิธีการนํามาใช้ปฏิบัติ เพราะการจัดการที่ไม่ดีพอ
โดยเฉพาะการจัดการสิ่งแวดล้อมจะก่อให้เกิดปัญหาและผลเสียหายต่างๆ ติดตามมาอย่างมากมายได้
ความหมายของการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental managment)
มีผู้ให้ความหมายไว้ดังนี้
การจัดการสิ่งแวดล้อม
หมายถึงกระบวนการกระจายทรัพยากรที่สําคัญทั้งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น
เพื่อสนองความพอใจในการนําสิ่งแวดล้อมไปใช้อย่างเหมาะสม ในการเป็นปัจจัยหลักและปัจจัยรองในอนาคต
(Jolly, อ้างถึงในเกษม จันทร์แก้ว, 2525 : 202)
การจัดการสิ่งแวดล้อม หมายถึง กระบวนการใช้สิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ
โดยการวางแผน ดําเนินงาน ติดตามประเมินผลและปรับปรุง แก้ไขพัฒนาให้ดีขึ้น
ทั้งนี้ต้องคํานึงถึงการใช้อย่างประหยัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ใช้ให้ได้ยั่งยืน
ยาวนานตลอดไป และเอื้ออํานวยประโยชน์ต่อมวลมนุษย์และธรรมชาติให้มากที่สุด
(วินัย วีระวัฒนานนท์,2540 : 185)
การจัดการสิ่งแวดล้อม
หมายถึงการพิจารณาตรวจสอบทรัพยากรในพื้นที่อย่างดี แล้วตัดสินใจว่าจะทําอะไรที่เราต้องการ
โดยมิให้เกิดอันตรายมากจนทําให้สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์อาศัยอยู่ต้องเสียไป
(Winslow and Gubby, อ้างถึงในเกษม จันทร์แก้ว, 2525 : 203)
จากความหมายของการจัดการสิ่งแวดล้อม
มีสาระสําคัญพอสรุปได้ดังนี้
1.
การจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นการนําทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ตอบสนองความต้องการของมนุษย์
2.
การนําทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ต้องมีการวางแผนการใช้ที่ดี และเหมาะสม
3.
การนําทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ต้องมีผลกระทบต่อมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อมน้อยที่สุด
4.
การนําทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ต้องยึดหลักการอนุรักษ์เสมอ
ในปัจจุบันมีความจําเป็นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น
เนื่องจากเหตุผลต่อไปนี้
1.
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยที่จําเป็นในการดํารงชีวิตของมนุษย์
อัตราการเพิ่มเป็นไปตามข้อจํากัดทางธรรมชาติ ทําให้ไม่เพียงพอกับความต้องการของมนุษย์ซึ่งมีความต้องการเพิ่มขึ้นสูงมาก
2.
ประชากรโลกเพิ่มขึ้น การพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมโดยใช้ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
ทําให้มนุษย์เกิดพฤติกรรมในการบริโภคสูงขึ้น หรือเกิดค่านิยมในการบริโภคนิยมและวัตถุนิยม
ทําให้การบริโภคของมนุษย์เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหร่อลง
และเกิดวิกฤตสิ่งแวดล้อมทั้งระดับโลกและระดับท้องถิ่น เช่น เกิดภาวะโลกร้อนขึ้น
ภัยพิบัติเพิ่มความรุนแรง พิษภัยจากสารพิษเพิ่มมากขึ้น เกิดความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
ดินเมื่อคุณภาพและป่าไม้ถูกทําลายมากขึ้น เป็นต้น
3.
ทัศนคติ ความเชื่อ และขนบธรรมเนียมประเพณีบางอย่างของมนุษย์ ทําลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
เช่น การถางป่า เผาป่า การเล่นกีฬาประเภทยิงนก ตกปลา ล่าสัตว์การต้องการความสะดวกสบาย
สนุกสนานโดยไม่คํานึงถึงสิ่งแวดล้อม เช่น การสร้างถนน สร้างสนามกอล์ฟ
สร้างรีสอร์ท การทําสงคราม การคมนาคมขนส่ง การค้าและบริการ การเกษตรและอุตสาหกรรม
เป็นต้น
4.
นโยบายของรัฐบาล บางครั้งได้มีส่วนทําลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เช่น
การให้สัมปทานแหล่งแร่ การสร้างเขื่อน และการพัฒนาโดยไม่คํานึงถึงการรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมต่างๆ
ที่เพิ่มมากขึ้น
ดังนั้นในการจัดการสิ่งแวดล้อมให้บรรลุเป้าหมายจะขึ้นอยู่กับหลักความจริงซึ่งเป็นหลักการจัดการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ควรนํามาปฏิบัติดังนี้
(สุรินทร์ เศรษฐมานิต, อ้างถึงในกนก จันทร์ทอง,2541: 101)
1.
สสารย่อมไม่สูญหายไปจากโลก แต่อาจเปลี่ยนจากรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่งได้
2.
สิ่งแวดล้อมเป็นแหล่งทรัพยากร และเป็นแหล่งรองรับของเสีย
3.
สิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่มีราคา ไม่ว่าเราจะใช้สิ่งแวดล้อมในลักษณะใดก็ตาม
4.
กฎของอุปสงค์และอุปทาน (Demand and supply)
นอกจากนี้ในการจัดการสิ่งแวดล้อมจะมีขั้นตอนคล้ายคลึงกับการจัดการในด้านอื่นๆ
ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนที่สําคัญดังนี้
1.
การศึกษาปัญหาและขอบเขต
2.
การวิเคราะห์ขั้นตอนของการดําเนินการ
3.
การเตรียมแผนงาน
4.
การดําเนินการตามแผน
5.
การประเมินผลและปรับปรุงการดําเนินการ
|