พื้นฐานทางสิ่งแวดล้อมและ
การจัดการทรัพยากร
ควาหมายและขอบเขตของ
การศึกษาสิ่งแวดล้อม
การพัฒนาแนวความคิดเกี่ยวกับ
สิ่งแวดล้อมของมนุษย์
แนวทางและหลักการพัฒนา
ทางสิ่งแวดล้อม
องค์ประกอบที่สำคัญของ
การพัฒนาที่ยั่งยืน
หลักการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมกับ
คุณภาพชีวิต
 
กระบวนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์
- ลำดับขั้นของกระบวนการ
การศึกษานอกสถานที่
การใช้สื่อต่าง ๆ
การจัดกิจกรรมพิเศษ
การจัดโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
การสำรวจ วิเคราะห์ และทำรายงาน
ปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน
ตัวอย่างการใช้และการจัดการ
สิ่งแวดล้อมในประเทศ
ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับ
สิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
 
 
   
 

 

 

   
   
   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

   
 

 

 

 

 

 
   
   
   
 

      

              เนื่องจากสิ่งแวดลอมมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์มากมายดังนี้
               1. เป็นแหล่งปัจจัยพื้นฐานในการดํารงชีวิต
                มนุษย์ต้องอาศัยปัจจัยต่างๆที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมเพื่อการดํารงชีวิตดังนี้
                    1.1 อาหารการดํารงชีวิตของมนุษย์ต้องกินอาหารซึ่งมีแร่ธาตุและพลังงานต่างๆ จากพืชและสัตว์ อาศัยน้ำที่หมุนเวียนอยู่ในธรรมชาติในการดื่มและใช้ อาศัยดินเป็นแหล่งผลิตอาหารทั้งที่เป็นพืชและสัตว์ มนุษย์บางกลุ่มอาจกินเฉพาะพืชหรือเฉพาะสัตว์ กินทั้งอาหารสดและอาหารที่ทําให้สุกแล้ว การแสวงหาอาหารของมนุษย์ได้มีการพัฒนามาโดยลําดับ เริ่มต้นแสวงหาอาหารจากแหล่งธรรมชาติ การนําอาหารมาเก็บสะสมไว้ที่บ้าน จนถึงการรู้จักเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และการผลิตอาหารจากทรัพยากรธรรมชาติได้เอง
                   1.2 ที่อยู่อาศัย เดิมทีมนุษย์อาศัยอยู่ตามแหล่งธรรมชาติ ต้องอาศัยหลับนอน พักผ่อนเลี้ยงดูสมาชิกครอบครัวตามร่มไม้ หุบเขาหรือถ้ำ ดัดแปลงธรรมชาติเพื่อป้องกันภัยที่เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ฝนตก น้ำท่วม แดดร้อน ฯลฯ ตลอดจนการสร้างที่อยู่อาศัย เพื่อป้องกันภัยจากธรรมชาติ สัตว์อื่น รวมทั้งการป้องกันภัยจากมนุษย์ด้วยกันเอง การเลือกที่อยู่อาศัยก็มักเลือกตามแหล่งที่สามารถหาอาหารและน้ำได้สะดวกปลอดภัย ดังนั้นการเลือกทําเลที่อยู่อาศัยเป็นความตั้งใจและเป็นการกระทําที่ต้องมีความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ
                   1.3 เครื่องนุ่งห่ม เครื่องนุ่งห่มในสมัยแรกนั้นเป็นการนําใบไม้ เยื่อไม้และหนังสัตว์ที่หาได้มาห่อหุ้มร่างกายเพื่อให้ความอบอุ่น หรืออาจนํามาประดับร่างกายเพื่อแสดงความสามารถในการแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ จากนั้นมีการผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มจากวัสดุที่หาได้ในถิ่นที่อยู่อาศัยสําหรับสมาชิกในครอบครัว ต่อมาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของมนุษย์ทําให้เกิดการผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มเพื่อการค้า
                   1.4 ยารักษาโรค การสังเกตสิ่งแวดล้อมมนุษย์เริ่มใช้พืชสมุนไพรในการรักษาโรคภัยไข.เจ็บ โดยเอามาทั้งต้น กิ่ง ก้าน เปลือก แก่น ดอก ราก ต้มกินหรือทาครั้งละมากๆ ต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ตัวทําละลายที่เหมาะสม เช่น แอลกอฮอล์ อีเทอร์ สกัดเอาตัวยาแท้ ๆ จากส่วนต่างๆ ของต้นไม้ แล้วทําให้ตัวทําละลายระเหยไป เหลือแต่ตัวยาไว้ทําให้เป็นผงหรือผลึก ใช้กินแต่น้อย   นอกจากการสกัดตัวยาจากสมุนไพร มนุษย์ยังใช้วิธีสังเคราะห์ยาเลียนแบบตัวยาในสมุนไพรโดยใช้วัตถุดิบจากสิ่งแวดล้อม

               2. สิ่งกําหนดการตั้งถิ่นฐานและชุมชน
               ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการตั้งถิ่นฐานและชุมชนของมนุษย์ เพราะมนุษย์ต้องอาศัยทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้นเป็นปัจจัยในการดํารงชีวิตในบริเวณพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ เช่น ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ราบรอบๆ ทะเลสาบ ที่ราบชายฝั่งทะเล จึงมักเป็นแหล่งชุมชนโบราณที่ปรากฏหลักฐานอยู่จนปัจจุบัน เช่น อียิปต์ กรีก โรมัน จีน อินเดียและได้กลายเป็นบริเวณที่มีประชากรหนาแน่นของโลก

               3. ตัวกําหนดลักษณะอาชีพ
               มนุษย์ในแต่ละท้องถิ่นจะประกอบอาชีพแตกต่างกันไป ตามสภาพของพื้นที่และลักษณะของทรัพยากรธรรมชาติ เช่น บริเวณที่ราบลุ่มมักจะมีอาชีพทําเกษตรกรรม บริเวณชายทะเลหรือเกาะต่างๆ ก็จะทําการประมง บริเวณที่เป็นแหล่งแร่ก็จะทําเหมืองแร่เป็นอาชีพหลัก นอกจากนี้สภาพของพื้นที่และลักษณะของทรัพยากรธรรมชาติยังมีผลต่อการผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพที่แตกต่างกันอีกด้วย

               4. ตัวกําหนดรูปแบบของวัฒนธรรม
               รูปแบบวัฒนธรรมของมนุษย์แต่ละท้องถิ่น มีความแตกต่างกันไปตามลักษณะของการดําเนินชีวิตที่เป็นไปตามสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น เช่น การแต่งกาย การกินอาหาร ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนความเชื่อและค่านิยมต่างๆ ล้วนถูกกําหนดให้มีรูปแบบที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นทั้งสิ้น นอกจากนี้สภาพแวดล้อมยังมีอิทธิพลต่อลักษณะนิสัยใจคอของมนุษย์อีกด้วย เช่น ในเขตอบอุ่นผู้คนมักมีนิสัยสุขุมรอบคอบ ใจเย็น กระตื้อรือร้น และขยัน แต่ในเขตร้อนผู้คนมักจะมีนิสัยที่ตรงข้ามกับเขตอบอุ่น เช่น เฉื่อยชา เกียจคร้าน ใจร้อน หงุดหงิดอารมณเสียง่าย ขาดความรอยคอบ ส่วนคนที่อาศัยอยู่ในป่ามักมีนิสัยดุร้าย ชอบการต่อสู้ และผจญภัย

               5. กิจกรรมทางด้านการเมือง
               หน่วยการเมืองที่ตั้งกระจัดกระจายอยู่ในส่วนต่างๆ ของโลก จะรวมตัวเป็นหน่วยเดียวกันได้จะต้องมีสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์คล้ายคลึงกันมากที่สุด ส่วนการดําเนินกิจกรรมทางการเมืองจะเป็นมิตรหรือศัตรูกันหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับความกดดันทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นต้นว่าถ้าเกิดความไม่สมดุลของทรัพยากรธรรมชาติกับจํานวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น หรือพรมแดนธรรมชาติที่เป็นร่องน้ำมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ หรือเกิดความแตกต่างในลัทธิความเชื่อทางศาสนา ตัวอย่างเช่น การที่กองทัพญี่ปุ่นเขายึดครองเกาะไต้หวัน และแมนจูของจีนในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นเพาะญี่ปุ่นเกิดปัญหาเรื่องอาหารไม่พอเพียงสําหรับเลี้ยงประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และดินแดนของจีนทั้งสองแห่งมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชผลที่ญี่ปุ่นต้องการ หรือกรณีความแตกต่างในเรื่องลัทธิศาสนาจนเป็นเหตุทําให้อินเดียและปากีสถานต้องแยกหน่วยการเมืองออกจากกันและเป็นศัตรูต่อกันจนถึงปัจจุบัน เป็นต้น

               จะเห็นได้ว่า สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติมีความสําคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ โดยเฉพาะทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งที่คอยค้ำจุนความเจริญของมนุษย์ในทุก ๆ ด้าน การศึกษาทางวิ ทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อมทําให้ ประชาชนหรือชุมชนรู้ จักใช้ ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้นอย่างชาญฉลาดแล้ว ประชาชนจะมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจอยู่ดีกินดีมีคุณภาพชีวิตที่ดี แต่ในทางตรงกันข้าม ประเทศหรือชุมชนใดที่ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติหรือประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจ และไม่ตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย ขาดความระมัดระวัง และความรับผิดชอบต่อการใช้และบํารุงรักษา ก็จะทําให้ทรัพยากรธรรมชาติต้องสูญเสียไปอย่างไม่คุ้มค่าและขาดแคลนในที่สุด แล้วชุมชนหรือประเทศนั้นก็ตกอยู่ในฐานะที่ยากจน คุณภาพชีวิตต่ำ ปัญหาความวุ่นวายต่างๆ ก็จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

              หลายต่อหลายครั้งที่พบว่า ภัยพิบัติทางสิ่งแวดล้อมบางส่วนเนื่องมาจากผลการพัฒนาที่มิได้คํานึงถึงสิ่งแวดล้อม ดังนั้นแนวความคิดที่ถูกต้องในการพัฒนาก็คือ การพัฒนาที่คํานึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผลการพัฒนานั้นก่อให้เกิดผลดีแก่ชีวิตมนุษย์ ในปัจจุบันรัฐบาลของหลายประเทศจึงหันมาให้ความสําคัญในเรื่องของการพัฒนาสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้อยู่ในระดับมาตรฐาน นั่นคือการอยู่ดีกินดีของประชาชนในสังคมให้ดีขึ้นภายในกรอบและขอบเขตความเป็นจริง ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับเอกลักษณ์ระดับมาตรฐานสภาพความเป็นอยู่ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม สังคม

              การพัฒนาเพื่อคุณภาพแห่งชีวิตนั้น ก็คือความพยายามร่วมกันในอันที่จะใช้ทรัพยากรอันมีค่าของชาติให้ เกิดผลดี ที่สุดและสอดคล้องกับชีวิตจิตใจความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของชาติให้มากที่สุดในความพยายามร่วมกันนี้จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเป็นไปในรูปแบบของสหวิทยาการ (วิชาการหลายสาขาร่วมกัน) เพื่อให้แน่ใจได้ว่าโครงการพัฒนาทั้งมวลจะต้องไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือหากว่ามีก็จะต้องน้อยที่สุด

              หลักปฏิบัติพื้นฐานอันเป็นหลักทั่วไปของโครงการพัฒนาต่างๆ ควรจะต้องคํานึงถึงหลักสําคัญต่างๆ ดังต่อไปนี้
                    1. ผลดีในทางเศรษฐกิจ
                    2. ความเหมาะสมในทางสังคม
                    3. เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ในทางเทคโนโลยี
                    4. เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในด้านสิ่งแวดล้อม