พื้นฐานทางสิ่งแวดล้อมและ
การจัดการทรัพยากร
ควาหมายและขอบเขตของ
การศึกษาสิ่งแวดล้อม
การพัฒนาแนวความคิดเกี่ยวกับ
สิ่งแวดล้อมของมนุษย์
แนวทางและหลักการพัฒนา
ทางสิ่งแวดล้อม
องค์ประกอบที่สำคัญของ
การพัฒนาที่ยั่งยืน
หลักการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมกับ
คุณภาพชีวิต
 
กระบวนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์
- ลำดับขั้นของกระบวนการ
การศึกษานอกสถานที่
การใช้สื่อต่าง ๆ
การจัดกิจกรรมพิเศษ
การจัดโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
การสำรวจ วิเคราะห์ และทำรายงาน
ปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน
ตัวอย่างการใช้และการจัดการ
สิ่งแวดล้อมในประเทศ
ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับ
สิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
 
 
   
   
   
   
   
 
   
   
   
 
   
   
   
 

      

              แบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่ม ๆ ให้ศึกษาค้นคว้าความรู้เพื่อทําโครงการเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยดําเนินงาน
เป็นขั้นตอนดังนี้
              1. แต่ละกลุ่มจัดแบ่งหน้าที่สมาชิกของกลุ่ม ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับโครงการที่จะทําจากหนังสือ เอกสาร วารสาร งานวิจัยต่างๆ รวมทั้งแหล่งวิทยาการอื่นๆ ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น และบุคคลผู้มีความรู้ความชํานาญพิเศษ
              2. ประชุมปรึกษาหารือสมาชิกในกลุ่มเพื่อเสนอแนวคิดและลงมติอนุมัติโครงการที่จะจัดทํากลุ่มละ 1 โครงการ (ควรเป็นโครงการที่ยังไม่มีใครทําหรือดัดแปลงมาจากโครงการอื่นๆที่เห็นว่าเหมาะสม)
              3. แต่ละกลุ่มเขียนโครงการเสนอผู้สอนเพื่อให้ผู้สอนพิจารณาถึงความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการ ที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมซึ่งขั้นตอนนี้ผู้สอนจะต้อง ชี้แจงให้คําแนะนําในแต่ละโครงการของผู้เรียน ให้สามารถนําไปปฏิบัติได้อย่างชัดเจน
             
การเขียนโครงการควรประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้ (ซึ่งแต่ละหัวข้อควรเขียนอย่างละเอียดชัดเจน)
                    - ชื่อโครงการ
                    - ผู้รับผิดชอบโครงการ (กลุ่ม)
                    - หลักการและเหตุผล (จะต้องชี้แจงให้เห็นถึงประโยชน์ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน และครอบคลุม)
                    - วัตถุประสงค์
                    - เป้าหมาย
                    - งบประมาณ
                    - ระยะเวลาดําเนินงาน
                    - ขั้นตอนในการดําเนินงาน
                    - ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

               4. แต่ละกลุ่มจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และวัตถุดิบที่จะนําไปใช้ แล้วดําเนินงานตามขั้นตอนที่ได้ศึกษาหาความรู้มา (ควรถ่ายภาพไว้ทุกขั้นตอนเพื่อใช้ประกอบการทํารายงานผลการปฏิบัติตามโครงการ
               5. นําผลงานที่ได้มาทดสอบ ทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพและคุณภาพของผลงานด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ทดลองใช้จริง ตรวจวัดคุณภาพด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ นําไปให้ผู้รู้ผู้ชํานาญพิจารณาให้คําแนะนําหรือคําวิจารณ์ ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจจะแตกต่างกันไปตามลักษณะของผลงาน
               6. นําผลจากการทดสอบ ทดลองในข้อ 5 มาปรับปรุงพัฒนาผลงานให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพดีขึ้น หรืออาจจะต้องทําใหม่ หากผลงานนั้นไม่มีคุณภาพหรือใช่ประโยชน์ไม่ได้เลย
               7. จดบันทึกขั้นตอนในการดําเนินงานอย่างละเอียดเพื่อนํามาเขียนเป็นรายงานประกอบโครงการเสนอผู้สอน
               8. แต่ละกลุ่มนําเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน พร้อมกับสาธิตการดําเนินการทุกขั้นตอนและเปิดโอกาสให้สมาชิกกลุ่มอื่นซักถาม วิจารณ์และให้คําแนะนํา
               ลักษณะของโครงการควรมีลักษณะที่หลากหลาย เช่น การทําสิ่งประดิษฐ์เพื่อแก้ปัญหาและป้องกันหรือรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างใดอย่างหนึ่ง การนําวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์ดัดแปลงใช้ประโยชน์ การนําวัสดุที่ใช้แล้วมาใช่ใหม่ (reuse) หรือนํามาผลิตใหม่ (recycle) เป็นต้น
               กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ต่อการอนุรักษ์และพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในหลายๆ แนวทาง